ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
ทำอุโบสถภายในสีมา
[๔๕๕] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม ทำ อุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้นเอง ส่วนพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมไปทำ อุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา

ต่อมา ภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมอีกรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตาม ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น ทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้นเอง ส่วน พวกข้าพระองค์ซึ่งเป็นผู้ลงอุกเขปนียกรรมกลับต้องไปทำอุโบสถทำสังฆกรรมนอกสีมา” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมนั้นจะทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้น กรรมเหล่านั้นของ ภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะตามญัตติและอนุสาวนา ที่เราบัญญัติไว้ ภิกษุ ถ้าภิกษุเหล่านั้นเองซึ่งเป็นผู้ลงอุกเขปนียกรรมจะทำอุโบสถ สังฆกรรมภายในสีมานั้น กรรมเหล่านั้นแม้ของพวกเธอก็เป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่ เสียหาย ควรแก่ฐานะตามญัตติและอนุสาวนาที่เราบัญญัติไว้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นนานาสังวาสจากพวกเธอ และพวกเธอก็เป็นนานาสังวาส จากภิกษุพวกนั้น
นานาสังวาสกภูมิและสมานสังวาสกภูมิ
ภิกษุ นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้ คือ ๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง ๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ภิกษุ นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้แล ภิกษุ สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้ คือ ๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง ๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่ ภิกษุ สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=6052&Z=6072                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=240              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=240&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=240&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/brahmali#pli-tv-kd10:1.9.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/horner-brahmali#Kd.10.1.9



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :