ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่อพวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
พระเถระกราบทูลถามถึงวิธีปฏิบัติ
[๔๖๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัสสปะ ได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัจจานะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหา โกฏฐิตะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัปปินะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา

มหาจุนทะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอนุรุทธะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระ เรวตะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอุบาลีได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอานนท์ ได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระราหุลได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมา สู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราหุล เธอจงวางตนอยู่อย่างชอบธรรมเถิด” ท่านพระราหุลกราบทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ชอบธรรม หรือไม่ชอบธรรม พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราหุล เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการ ฯลฯ ราหุล เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล ราหุล เธอพึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการ ฯลฯ ราหุล เธอ พึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๐] พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา

ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี บรรดาภิกษุทั้งฝ่ายธรรมวาทีและฝ่ายอธรรม วาที เธอจงฟังธรรมในภิกษุทั้ง ๒ ฝ่าย ครั้นฟังแล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจและความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาที อนึ่ง วัตรที่ภิกษุณีสงฆ์ พึงหวังจากภิกษุสงฆ์ทุกอย่างนั้นก็พึงหวังจากภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”
อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๑] อนาถบิณฑิกคหบดีได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ท่านจงถวายทานในภิกษุทั้งสองฝ่าย ครั้น แล้วจงฟังธรรมในภิกษุทั้งสองฝ่าย แล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”
นางวิสาขามิคารมาตากราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๒] นางวิสาขามิคารมาตาได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา

ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่าพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วิสาขา เธอจงถวายทานในภิกษุทั้งสองฝ่าย ครั้นแล้ว จงฟังธรรมในภิกษุทั้งสองฝ่าย แล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจและ ความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”
เรื่องให้เสนาสนะที่ว่างแก่พวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
[๔๗๓] ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีได้เดินทางไปโดยลำดับ จนถึงกรุง สาวัตถี ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ พุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทาง มาสู่กรุง สาวัตถี ข้าพระองค์จะจัดเสนาสนะต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอพึงให้เสนาสนะที่ว่าง”
เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่าง
สำหรับพวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ก็ถ้าไม่มีเสนาสนะว่าง จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอพึงจัดเสนาสนะให้ว่าง แล้วให้ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘พึงห้ามเสนาสนะแก่ภิกษุผู้มีพรรษามากโดยปริยายไรๆ’ (เพราะ)ผู้ใดห้ามต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๓๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ]

๒๗๗. โอสารณานุชานนา

เรื่องให้อามิสเท่าๆ กัน
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ในอามิส จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร พึงแบ่งอามิสให้ภิกษุเท่าๆ กันทุกรูป”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=64              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=6560&Z=6631                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=253              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=253&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=253&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/brahmali#pli-tv-kd10:5.6.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/horner-brahmali#Kd.10.5.6



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :