ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องน้ำมันเหลวที่เป็นยา
[๒๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการมันเหลวที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมันเหลวที่เป็นยา คือ มันเหลวหมี มันเหลวปลา มันเหลวปลาฉลาม๑- มันเหลวหมู มันเหลวลาที่รับ ประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาลแล้วฉันอย่างน้ำมัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล กรองในเวลาวิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว @เชิงอรรถ : @ บางอาจารย์ว่า จระเข้ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๒/๓๖๗) ฉบับ PALI TEXT SOCIETY แปลว่า จระเข้ (Book @of the discipline past๔- P. 271) มหาวรรคฉบับภาษาพม่าแปลว่า “ปลาโลมา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในเวลาวิกาล กรอง ในเวลาวิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในกาล กรองในเวลา วิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ (๑ ตัว) ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในกาล เจียวในกาล กรองในกาล แล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ”
๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตเครื่องยามีรากไม้เป็นต้น
เรื่องรากไม้ที่เป็นยา
[๒๖๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการรากไม้ที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรากไม้ที่เป็นยา คือ ขมิ้น ขิงสด ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิต ข่า แฝก แห้วหมู หรือรากไม้ที่เป็นยาชนิด อื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมี เหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องรากไม้บดที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการรากไม้ที่บดเป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหินบด ลูกหินบด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องน้ำฝาดที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการน้ำฝาดที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นยา คือ น้ำ ฝาดสะเดา น้ำฝาดโมกมัน น้ำฝาดขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ด น้ำฝาดกระถินพิมาน หรือน้ำฝาดที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้อง อาบัติทุกกฏ”
เรื่องใบไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการใบไม้ที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นยา คือ ใบสะเดา ใบโมกมัน ใบขี้กา ใบแมงลัก ใบฝ้าย หรือใบไม้ที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของ เคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องผลไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการผลไม้ที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นยา คือ ลูกพิลังคะ ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลโกฐ หรือผลไม้ที่เป็นยาชนิดอื่น ที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องยางไม้ที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการยางไม้ที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นยา คือ หิงคุ ยางเคี่ยวจากหิงคุ ยางเคี่ยวจากเปลือกหิงคุ ยางจากยอดตันตกะ ยางจากใบ ตันตกะ ยางเคี่ยวจากก้านตันตกะ กำยาน หรือยางที่เป็นยาชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุ จึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องเกลือที่เป็นยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการเกลือที่เป็นยา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นยา คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุงหรือเกลือที่เป็นยา ชนิดอื่นที่มีอยู่ ซึ่งไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน รับประเคนแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ เมื่อมีเหตุจำเป็น ภิกษุจึงฉันได้ เมื่อไม่มีเหตุจำเป็น ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องมูลโค ดินเหนียว กากน้ำย้อมดับกลิ่นตัว
[๒๖๔] สมัยนั้น ท่านพระเพลัฏฐสีสะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอานนท์ เป็นโรคฝีดาษ จีวรติดกายเพราะน้ำเหลือง พวกภิกษุใช้น้ำชุบผ้าเหล่านั้นแล้ว ค่อยๆ ดึงออกมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น กำลังใช้น้ำชุบผ้าแล้วค่อยๆ ดึงออกมา จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นโรคอะไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ภิกษุนี้เป็นโรคฝีดาษ จีวรติดกายเพราะน้ำเหลือง พวกข้าพระองค์ใช้น้ำชุบผ้าแล้วค่อยๆ ดึงออกมา พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาผงสำหรับภิกษุผู้เป็นหิด ตุ่ม พุพอง ฝีดาษ หรือมีกลิ่นตัวแรง มูลโค ดินเหนียว กากน้ำย้อมสำหรับภิกษุผู้ไม่ เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตครกและสาก”
เรื่องยาผงและเครื่องร่อนยา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ ต้องการยาผงที่ร่อนแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องร่อนยาผง” ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการยาผงละเอียด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าร่อนยา”
เรื่องเนื้อดิบและเลือดสด
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้เพราะถูกอมนุษย์เข้าสิง อาจารย์และอุปัชฌาย์ ช่วยกันรักษาภิกษุนั้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ภิกษุนั้นเดินไปที่ร้านขายหมู แล้วกินเนื้อดิบ ดื่มเลือดสดๆ โรคอมนุษย์เข้าสิงของภิกษุนั้นจึงสงบ๑- ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ใน เมื่อมีโรคอมนุษย์เข้าสิง” @เชิงอรรถ : @ ภิกษุผู้เป็นไข้นั้น ไม่ได้กินเนื้อดิบ ไม่ได้ดื่มเลือดสด แต่อมนุษย์ (ผี) ที่สิงอยู่ในร่างภิกษุนั้น กินและดื่ม @พอกินเนื้อดิบและดื่มเลือดสดแล้ว ก็ออกจากร่างภิกษุนั้นไป (วิ.อ. ๓/๒๖๔/๑๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องยาหยอดตา
[๒๖๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา พวกภิกษุต้องพยุงภิกษุนั้น ไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุกำลัง พยุงภิกษุนั้นไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง จึงเสด็จเข้าไปหาแล้วตรัสถาม ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นโรคอะไร” พวกภิกษุกราบทูลว่า “ท่านรูปนี้อาพาธเป็นโรคตา พวกข้าพระองค์คอยพยุง ท่านไปให้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาหยอดตา อันได้แก่ยา ทาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง ยาป้ายตาที่ทำด้วยเครื่องปรุงต่างๆ ยาทา ตาที่เกิดในกระแสน้ำ หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ”
เรื่องเครื่องบดยาผสมยาตา
ภิกษุทั้งหลายต้องการเครื่องบดยาผสมยาตา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู”
เรื่องกลักยาตา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอ่งบ้าง ในขันบ้าง ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ ทำด้วยทองคำ ทำ ด้วยเงิน มนุษย์ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตาทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยางไม้ ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์” กลักยาตาไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด” ฝาปิดตกจากกลักยาตา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายผูกพันไว้กับ กลักยาตา” กลักยาตาแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายถัก”
เรื่องไม้ป้ายยาตา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้นิ้วมือป้ายทาตา นัยน์ตาช้ำ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่างๆ ทำด้วยทองคำ ทำด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตาทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ฯลฯ ทำด้วยเปลือกสังข์”
เรื่องที่เก็บไม้ป้ายยาตา
สมัยนั้น ไม้ป้ายยาตาตกที่พื้นจึงเปื้อน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภาชนะ สำหรับเก็บไม้ ป้ายยาตา” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือถือกลักยาตาบ้าง ไม้ป้ายยาตาบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา” ถุงกลักยาตาไม่มีหูสะพาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย”
เรื่องน้ำมันทาศีรษะ
[๒๖๖] สมัยนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะปวดร้อนที่ศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาศีรษะ”
เรื่องนัตถุ์ยา
พระปิลันทวัจฉะยังไม่หายโรคปวดร้อนที่ศีรษะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการนัตถุ์”๑- น้ำมันที่นัตถุ์ไหลออก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์”
เรื่องกล้องยานัตถุ์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กล้องยานัตถุ์ชนิดต่างๆ ทำด้วยทองคำ ทำ ด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องยานัตถุ์ชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์ทำด้วยกระดูก ฯลฯ ทำด้วยเปลือกสังข์” พระปิลินทวัจฉะนัตถุ์ได้ไม่เท่ากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้ มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องยานัตถุ์มีหลอดคู่”
เรื่องสูดควัน
พระปิลันทวัจฉะยังไม่หายโรคปวดศีรษะ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สูดควัน” @เชิงอรรถ : @ การนัตถุ์ หมายถึงการใช้น้ำมันที่ปรุงเป็นยาหยอดจมูก (ที.สี.อ. ๑/๙๑, ม.ม.อ. ๓/๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]

๑๖๑. มูลาทิเภสัชชกถา

เรื่องกล้องสูดควันและฝาปิดกล้องสูดควัน
ภิกษุทั้งหลายจุดเกลียวผ้าแล้วสูดควัน คอแสบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควัน” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กล้องสูดควันชนิดต่างๆ ทำด้วยทองคำ ทำ ด้วยเงิน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงใช้กล้องสูดควันชนิดต่างๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควัน ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ ทำด้วยยางไม้ ทำด้วย ผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์” สมัยนั้น กล้องสูดควันไม่มีฝาปิด ตัวสัตว์เล็กๆ เข้าไปได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด” สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือถือกล้องสูดควัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกล้องสูดควัน” กล้องสูดควันอยู่รวมกันย่อมกระทบกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงคู่” ถุงคู่ไม่มีหูสะพาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔๕-๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=775&Z=947                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=27&items=12              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=27&items=12                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/brahmali#pli-tv-kd6:2.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd6/en/horner-brahmali#Kd.6.2



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :