ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
[๒๘๕] สมัยนั้นภิกษุ ๒ รูป ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นพี่น้องกัน เกิดใน ตระกูลพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวานมีเสียงไพเราะ ภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุต่างชื่อ ต่างโคตร ต่าง เชื้อชาติ ต่างตระกูลพากันออกบวช ภิกษุเหล่านั้นทำพระพุทธพจน์ให้ผิดเพี้ยนด้วยภาษา ของตน๑- ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต”๒- พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษา สันสกฤต’เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะด้วยภาษาของตน” @เชิงอรรถ : @ ภาษาของตน คือ ภาษามคธซึ่งมีสำนวนโวหารตามแบบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗) @ ฉนฺทโส คือ สกฺกตภาสาย = ภาษาสันสกฤต (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์เรียนโลกายัต
[๒๘๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนโลกายัต๑- พวกคนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นสาระในโลกายัตพึงถึง ความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้หรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ถึง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นสาระในธรรมวินัยนี้ ย่อม เรียนโลกายัตหรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เรียน พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนโลกายัต รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนโลกายัต คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนโลกายัต รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา
[๒๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ โลกายัต หมายถึง ติตถิยศาสตร์ คือ ศาสตร์ของพวกเจ้าลัทธิต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยเหตุไร้ประโยชน์ @เช่น เรื่องสรรพสิ่งไม่บริสุทธิ์ เป็นเดน สรรพสิ่งบริสุทธิ์ ไม่เป็นเดน กาขาว นกยางดำ เป็นต้น @(วิ.อ. ๓/๒๘๖/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุขันธกะ]

ขุททกวัตถุ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใด เรียน ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๗๑-๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=7&siri=21              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=1315&Z=1353                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=180              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=180&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=180&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/brahmali#pli-tv-kd15:33.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd15/en/horner-brahmali#Kd.15.33



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :