ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๔. กฐินัตถารวรรค

๑๔. กฐินัตถารวรรค
หมวดว่าด้วยการกรานกฐิน
อานิสงส์กรานกฐิน
[๔๖๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “การกรานกฐินมีอานิสงส์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณโภชนะได้ ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ ๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น อุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
โทษของการนอนลืมสติ
[๔๖๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕ อย่างนี้ คือ ๑. หลับเป็นทุกข์ ๒. ตื่นเป็นทุกข์ ๓. เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา ๕. น้ำอสุจิเคลื่อน อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับลืมสติไม่รู้ตัวมีโทษ ๕ อย่างนี้แล
อานิสงส์ของการนอนมีสติ
อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้ คือ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๔. กฐินัตถารวรรค

๓. ไม่เห็นความฝันเลวทราม ๔. เทวดารักษา ๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน อุบาลี บุคคลผู้นอนหลับมีสติรู้สึกตัว มีอานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
บุคคลไม่ควรไหว้
[๔๖๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ไม่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ ๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน ๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ไม่ได้สนใจ ๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้หลับอยู่ อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้ อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ ๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุในเวลาที่ดื่มยาคู ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุในโรงภัตร ๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เป็นศัตรู ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังคิดเรื่องอื่น ๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเปลือยกาย อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้ อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ ๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังเคี้ยวอยู่ ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่ ๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังถ่ายอุจจาระ ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังถ่ายปัสสาวะ ๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๑๔. กฐินัตถารวรรค

อุบาลี บุคคลที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ ๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบททีหลัง ๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน ๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที ๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ อุบาลี บุคคล ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้ อุบาลี ภิกษุที่ไม่ควรไหว้แม้อื่นอีก ๕ จำพวก คือ ๑. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส ๒. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ๔. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต ๕. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ไม่ควรไหว้”
บุคคลควรไหว้
[๔๖๘] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุที่ควรไหว้มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุที่ควรไหว้นี้มี ๕ จำพวก คือ ๑. ผู้อุปสมบทหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน ๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส ผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที ๓. ควรไหว้พระอาจารย์ ๔. ควรไหว้พระอุปัชฌาย์ ๕. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ อุบาลี ภิกษุ ๕ จำพวกนี้แล ที่ควรไหว้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

หัวข้อบอกวรรค

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อ่อนกว่า
[๔๖๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้ แก่กว่า ควรตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ควรตั้งธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า ธรรม ๕ อย่าง คือ อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ๑. ควรห่มผ้าเฉวียงบ่า ๒. ประคองอัญชลี ๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง ๔. มีความรัก ๕. มีความเคารพ แล้วจึงไหว้เท้า อุบาลี ภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า ควรตั้งธรรม ๕ อย่างนี้แล ไว้ในตน แล้วจึงไหว้เท้า”
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔ จบ
หัวข้อประจำวรรค
การกรานกฐิน การหลับเป็นสุข ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้เข้าสู่ละแวกบ้าน ดื่มยาคู เคี้ยว อุปสมบทก่อน อยู่ปริวาส บุคคลควรไหว้ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุแก่กว่า
อุปาลิปัญจกะ จบ
หัวข้อบอกวรรค
อนิสสิตวรรค กัมมวรรค๑- โวหารวรรค ทิฏฐาวิกัมมวรรค โจทนาวรรค๒- ธุดงควรรค @เชิงอรรถ : @ นัปปฏิปัสสัมภนวรรค (๔๒๐/๕๙๕) @ อัตตาทานวรรค (๔๓๖/๖๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

หัวข้อบอกวรรค

มุสาวาทวรรค ภิกขุโนวาทวรรค อุพพาหิกวรรค อธิกรณวูปสมวรรค สังฆเภทกวรรค สังฆเภท ๕ อย่างเหมือนก่อน๑- อาวาสิกวรรค กฐินัตถารวรรค รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล @เชิงอรรถ : @ ทุติยสังฆเภทกวรรค (๔๖๐/๖๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๖๕-๖๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=8&siri=119              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=12362&Z=12466                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1223              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1223&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1223&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:240.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#BD.6.329



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :