ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒
๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเสวยพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง
เรื่องสรงพระกายพระผู้มีพระภาค
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระองค์ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า “อานนท์ ตถาคตมีกายหมักหมม ด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคตประสงค์จะฉันยาถ่าย” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า “ท่านชีวก พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วย สิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคตประสงค์จะฉันพระโอสถถ่าย” @เชิงอรรถ : @ ผ้าสิไวยกะ เป็นผ้าที่ชาวแคว้นอุตตรกุรุใช้ห่อศพไปทิ้งไว้ในป่าช้า พวกนกหัสดีลิงค์คาบซากศพพร้อมทั้ง @ผ้านั้นไปที่ยอดเขาหิมาลัย ดึงผ้าออกแล้วกินซากศพ พวกนายพรานเห็นผ้านั้น จึงนำมาถวายพระเจ้า @ปัชโชต (วิ.อ. ๓/๓๓๕/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา

ชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านโปรดทำ พระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้นสัก ๒-๓ วัน” ครั้นท่านพระอานนท์ทำพระวรกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื้น ๒-๓ วันแล้ว จึงเข้าไปหาชีวกโกมารภัจถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับชีวกโกมารภัจดังนี้ว่า “ท่าน ชีวก พระวรกายของพระผู้มีพระภาคชุ่มชื้นดี เวลานี้ท่านจงรู้เวลาที่ควร”
เรื่องหมอชีวกทูลถวายพระโอสถถ่าย ๓๐ ครั้ง
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจได้มีความคิดดังนี้ว่า “การที่เราจะทูลถวายพระโอสถ ถ่ายชนิดหยาบแด่พระผู้มีพระภาคนั้นไม่สมควรเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงอบก้าน อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระตถาคต” แล้วได้อบก้าน อุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้น้อมถวายก้านอุบลก้านหนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง” แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดมก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง” แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคจงทรงสูดดม ก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ วิธีนี้จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง” ครั้นชีวกโกมารภัจทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณกลับไป เมื่อชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้มประตู ได้เกิดความคิดดังนี้ว่า “เราทูลถวาย พระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวร กายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่) ทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๐๙. สมติงสวิเรจนกถา

ทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนานแล้วจึงจะถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระ ภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของชีวกโกมารภัจด้วยพระทัย จึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เวลานี้ ชีวกโกมารภัจออกไปนอกซุ้ม ประตูได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่าย ครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมีพระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะไม่ทำพระผู้มี พระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่) จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มี พระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนั้น พระผู้มีพระภาค จักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี’ อานนท์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงเตรียมน้ำร้อนไว้” ท่านพระอานนท์กราบทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วจัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย ต่อมา ชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า “พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ชีวก เราถ่ายแล้ว” ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “เมื่อข้าพระองค์ออกไปนอกซุ้มประตูคิดว่า ‘เราทูล ถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระตถาคตมี พระวรกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จะทำพระผู้มีพระภาคให้ไม่ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง (แต่)จะทำพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง พระผู้มีพระภาคทรงถ่าย แล้วจะทรงสรงสนาน จักทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรงสนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้งพอดี พระผู้มีพระภาค โปรดทรงสรงสนานเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระสุคตโปรดสรงสนานเถิด” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรงน้ำอุ่น วิธีนี้ทำพระผู้มีพระภาคซึ่งทรงสรง สนานแล้วให้ถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงครบ ๓๐ ครั้งพอดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๐. วรยาจนากถา

ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าพระวรกายจะเป็นปกติ”
๒๑๐. วรยาจนากถา
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจกราบทูลขอพร
[๓๓๗] ต่อมาไม่นานนัก พระผู้มีพระภาคทรงมีพระวรกายเป็นปกติ ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจึงถือผ้าสิไวยกะคู่ ๑ นั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ ทูลขอพรอย่างหนึ่งกับพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก” ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทูลขอพรที่เหมาะสมและไม่มีโทษ พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จงพูดมาเถิด ชีวก”
เรื่องทรงรับคู่ผ้าสิไวยกะ
ชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอยู่เป็น วัตร ผ้าสิไวยกะคู่นี้เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐสุด มีชื่อเด่นเยี่ยมกว่าคู่ผ้าเป็น อันมาก หลายร้อย หลายพัน หลายแสนคู่ พระเจ้าปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน พระองค์โปรดรับผ้าสิไวยกะคู่ ๑ ของข้าพระองค์เถิดพระพุทธเจ้าข้า และโปรด ทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าสิไวยกะแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับ ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๐. วรยาจนากถา

ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจ ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณ แล้วจากไป
เรื่องทรงอนุญาตคหบดีจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จะถือผ้าบังสุกุลก็ได้ รูปใดปรารถนาจะรับคหบดีจีวรก็ได้ แต่เราสรรเสริญการยินดี ปัจจัยตามที่ได้”
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมากในกรุงราชคฤห์
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวร แก่ภิกษุทั้งหลาย” คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า “บัดนี้พวกเราจะ ถวายทาน จะบำเพ็ญบุญ เพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุ ทั้งหลาย” ชั่วเพียงวันเดียว จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์ ชาวชนบททราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย” คนทั้งหลายเหล่านั้นต่างรื่นเริงบันเทิงใจว่า “บัดนี้พวกเราจะถวายทาน จะบำเพ็ญ บุญเพราะพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตคหบดีจีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย” ชั่วเพียงวันเดียว จีวรหลายพันผืนได้เกิดขึ้นในชนบท
เรื่องทรงอนุญาตผ้าปาวาร ผ้าไหม และผ้าโกเชาว์
สมัยนั้น ผ้าปาวาร๑- ได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ผ้าปาวาร คือ ผ้าห่มใหญ่ อาจเป็นผ้าฝ้ายมีขน หรือผ้าชนิดอื่นก็ได้ (วิ.อ. ๓/๓๓๗/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวาร” ผ้าปาวารแกมไหมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวารแกมไหม” ผ้าโกเชาว์๑- เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์”
ปฐมภาณวาร จบ
๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา
ว่าด้วยทรงอนุญาตผ้ากัมพลเป็นต้น
เรื่องผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ
[๓๓๘] สมัยนั้น พระเจ้ากาสีทรงส่งผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ๒- ไปพระราชทาน แก่ชีวกโกมารภัจ ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจรับผ้ากัมพลครึ่งกาสิยะนั้นแล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ชีวกโกมารภัจผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลของข้าพระองค์ผืนนี้ราคาครึ่งกาสิยะ พระเจ้ากาสีพระ ราชทานมา ขอพระผู้มีพระภาคโปรดรับผ้ากัมพลผืนนี้เพื่อประโยชน์และความสุข ตลอดกาลนานแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ผ้าโกเชาว์ คือ ผ้าทำด้วยขนแพะ ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ไม่ควร ส่วนผ้าโกเชาว์ปกติทั่วไป ควรอยู่ @(วิ.อ. ๓/๓๓๗/๒๐๘) @ ผ้ากัมพล คือ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ กาสิยะ หมายถึง ๑,๐๐๐ ผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะคือราคา ๕๐๐ @(วิ.อ. ๓/๓๓๘/๒๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๑. กัมพลานุชานนาทิกถา

พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้ากัมพลแล้ว ชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้ อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับ ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากัมพล”
ทรงอนุญาตคหบดีจีวร ๖ ชนิด
เรื่องผ้าเนื้อดี เนื้อหยาบ
[๓๓๙] สมัยนั้น จีวรทั้งชนิดที่มีเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบได้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง ไม่ทรงอนุญาตจีวรอะไรบ้าง” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ ๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย) ๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพล (ผ้าขนสัตว์) ๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน)” [๓๔๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร พากันรังเกียจไม่ยอมรับผ้าบังสุกุล เพราะคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ ชนิด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดี จีวรยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองชนิดนั้น”
๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา
ว่าด้วยการแสวงหาผ้าบังสุกุล
เรื่องภิกษุรอกันและไม่รอ
[๓๔๑] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้า ป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ยอมรอ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้ ผ้าบังสุกุล ผู้ที่ไม่รอพูดว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง” พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่าน ไม่รอเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่ไม่รอ” สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกรออยู่ ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุลต่างได้ผ้าบังสุกุล ผู้ที่รออยู่พูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง” พวกที่ได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านไม่แวะไปเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่รออยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ]

๒๑๒. ปังสุกูลปริเยสนกถา

สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล บางพวกแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุลก่อน บางพวกแวะเข้าไปทีหลัง ผู้แวะเข้าป่าช้าเพื่อหาผ้าบังสุกุล ก่อนต่างได้ผ้าบังสุกุล ผู้ที่แวะเข้าไปทีหลังไม่ได้ผ้า จึงพูดว่า “ท่านทั้งหลาย โปรด ให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง” พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมท่านแวะ ไปทีหลังเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการไม่ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปทีหลัง” สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล พร้อมกันแวะเข้าป่าช้า เพื่อหาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสุกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้า พูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง” พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านหาไม่ได้เล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการ ก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่แวะเข้าไปพร้อมกัน” สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล นัดกันแวะเข้าป่าช้าเพื่อ หาผ้าบังสุกุล บางพวกได้ผ้าบังสกุล บางพวกไม่ได้ผ้า พวกที่ไม่ได้ผ้าพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายโปรดให้ส่วนแบ่งพวกเราบ้าง” พวกได้ผ้าบังสุกุลตอบว่า “พวกเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่าน ทำไมพวก ท่านหาไม่ได้เล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ไม่ต้องการก็ ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุที่นัดกันแวะเข้าไป” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๙๔-๒๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=3587&Z=3733                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=135              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=135&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4630              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=135&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4630                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:1.30.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#BD.4.394



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :