ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๓. โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระอุทายี
[๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปุราณทุติยิกาของท่านพระอุทายีได้บวชอยู่ ในสำนักภิกษุณี, นางมาในสำนักท่านพระอุทายีเนืองๆ. แม้ท่านอุทายีก็ไปในสำนักนางเนืองๆ. สมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี ผู้เดียว จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี- *พระภาค ... .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอผู้เดียวสำเร็จการนั่ง ในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว จริงหรือ? พระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้เดียวจึงได้สำเร็จการนั่ง ในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียวเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๗๙. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ผู้เดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับกับภิกษุณีผู้เดียว เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุทายี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย. บทว่า กับ คือ ร่วมกัน. บทว่า ผู้เดียว ผู้เดียว คือ มีเฉพาะภิกษุและภิกษุณี. ที่ชื่อว่า ที่ลับ คือ ที่ลับตา ที่ลับหู. ที่ชื่อว่า ที่ลับตา ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถแลเห็นภิกษุกับภิกษุณีขยิบตากัน ยักคิ้วกัน หรือชะเง้อศีรษะกัน. ที่ชื่อว่า ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่สามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดกันตามปกติ. บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า เมื่อภิกษุณีนั่ง ภิกษุนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ ต้อง- *อาบัติปาจิตตีย์. เมื่อภิกษุนั่ง ภิกษุณีนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. นั่งทั้งสองก็ดี นอนทั้งสองก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๖๘] ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่งหนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ที่ลับ สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่ง หนึ่งต่อหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ที่ลับ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๖๙] ภิกษุมีบุรุษผู้รู้เดียงสาคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ภิกษุยืนมิได้นั่ง ๑ ภิกษุ ผู้มิได้มุ่งที่ลับ ๑ ภิกษุนั่งส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. อสัมมตภิกขุโนวาทสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี ๒. อัตถังคตสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีเมื่ออาทิตย์ตกแล้ว ๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณีถึงในที่อยู่ ๔. อามิสสิกขาบท ว่าด้วยสั่งสอนภิกษุณี เพราะเห็นแก่ลาภ ๕. จีวรทานสิกขาบท ว่าด้วยให้จีวร ๖. จีวรสิพพนสิกขาบท ว่าด้วยเย็บจีวร ๗. สํวิธานสิกขาบท ว่าด้วยชักชวนกันเดินทาง ๘. นาวาภิรุหณสิกขาบท ว่าด้วยโดยสารเรือ ๙. ปริปาจนสิกขาบท ว่าด้วยฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำ ๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ
รวม ๑๐ สิกขาบท.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๐๑๒๘-๑๐๑๙๔ หน้าที่ ๔๒๐-๔๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=10128&Z=10194&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=66              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=466              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [466-469] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=466&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8061              The Pali Tipitaka in Roman :- [466-469] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=466&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8061              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc30/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :