ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม
[๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑ เป็น ธรรม มีมูล ๑ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๒ เป็นธรรมมีมูล ๒ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๓ เป็นธรรมมีมูล ๓ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๔ เป็นธรรมมีมูล ๔ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๕ เป็นธรรมมีมูล ๕ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๖ เป็นธรรมมีมูล ๖ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๗ เป็นธรรมมีมูล ๗ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๘ เป็นธรรมมีมูล ๘ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๙ เป็นธรรมมีมูล ๙ การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑๐ เป็นธรรมมีมูล ๑๐ [๔๖๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงดเว้น ปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติอันไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ ฯ [๔๗๐] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติมีมูล นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑ ฯ [๔๗๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ ฯ [๔๗๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒ ฯ [๔๗๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงด- *ปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ๓. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ ฯ [๔๗๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ๓. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓ ฯ [๔๗๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ๓. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ๔. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔ ฯ [๔๗๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ๓. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ๔. เพราะอาชีววิบัติมีมูล นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔ ฯ [๔๗๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงด- *ปาติโมกข์ ๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๓. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล ๔. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล ๕. เพราะทุกกฏไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ ฯ [๔๗๘] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะปาราชิกมีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล ๓. เพราะปาจิตตีย์มีมูล ๔. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล ๕. เพราะทุกกฏมีมูล นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๕ ฯ [๔๗๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๕. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๖. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ ฯ [๔๘๐] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๕. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๖. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๖ ฯ [๔๘๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงด ปาติโมกข์ ๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๓. เพราะถุลลัจจัยไม่มีมูล ๔. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล ๕. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล ๖. เพราะทุกกฏไม่มีมูล ๗. เพราะทุพภาสิตไม่มีมูล นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ ฯ [๔๘๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะปาราชิกมีมูล ๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล ๓. เพราะถุลลัจจัยมีมูล ๔. เพราะปาจิตตีย์มีมูล ๕. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล ๖. เพราะทุกกฏมีมูล ๗. เพราะทุพภาสิตมีมูล นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗ ฯ [๔๘๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุ งดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๕. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๖. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๗. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๘. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ ฯ [๔๘๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๕. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๖. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๗. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๘. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘ ฯ [๔๘๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงด- *ปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๕. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๖. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ ๗. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๘. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ ๙. เพราะทิฐิวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ ฯ [๔๘๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงดปาติโมกข์ ๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๓. เพราะศีลวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ ๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๕. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๖. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ ๗. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ ๘. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ ๙. เพราะทิฐิวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙ ฯ [๔๘๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน ๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๒. กถาปรารภผู้ต้องอาบัติปาราชิกมิได้ค้างอยู่ ๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขาไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขามิได้ค้างอยู่ ๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ๖. ไม่ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมมิได้ค้างอยู่ ๘. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๙. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ๑๐. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ ฯ [๔๘๘] การงดปาติโมกขเป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน ๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๒. กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกค้างอยู่ ๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น ๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขาค้างอยู่ ๕. ภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ๖. ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมค้างอยู่ ๘. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๙. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ๑๐. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๑๐ ฯ [๔๘๙] อย่างไร ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ การต้องอาบัติปาราชิกย่อมมี ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แต่ภิกษุอื่นบอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติ ปาราชิกเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมต้องอาบัติปาราชิก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม หน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ข้าพเจ้า งดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การ งดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๐] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ:- ๑. อันตรายแต่พระราชา ๒. อันตรายแต่โจร ๓. อันตรายแต่ไฟ ๔. อันตรายแต่น้ำ ๕. อันตรายแต่มนุษย์ ๖. อันตรายแต่อมนุษย์ ๗. อันตรายแต่สัตว์ร้าย ๘. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน ๙. อันตรายต่อชีวิต ๑๐. อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ใน อาวาสนั้นหรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคลมีชื่อ นี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง วินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคลมี ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยัง อยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม [๔๙๑] อย่างไร ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุบอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แต่ภิกษุบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุ มีชื่อนี้บอกลาสิกขา ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แม้ภิกษุอื่นก็ไม่เคย บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุรูปนี้บอกลาสิกขา แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมบอกลาสิกขาแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง สงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ บอกลาสิกขาแล้ว ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๒] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา ... อันตรายต่อพรหม- *จรรย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ใน อาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของบุคคล มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของบุคคล มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอ ยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๓] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในธรรมวินัยนี้ การไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุ อื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ก็ภิกษุไม่เคย เห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง สงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม ฯ [๔๙๔] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ การค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุ อื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ภิกษุมิได้เห็นภิกษุ ผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมค้านสามัคคี ที่เป็นธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้ เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๕] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา ... อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ในอาวาสนั้น หรือ ในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง สงฆ์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม ฯ [๔๙๖] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย ศีลวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุ ที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย นิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย ศีลวิบัติเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม หน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจ นั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๗] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย อาจารวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็น ภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้มีผู้ ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุ ว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้น อยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ฯ [๔๙๘] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยทิฐิ- *วิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยทิฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุ ไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอก แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ก็ภิกษุ ไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่น ก็ไม่ได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุนี้มีชื่อมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วย ทิฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ รังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑๐ ประการ นี้แล ฯ
ภาณวาร ที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๕๗๒-๕๘๘๙ หน้าที่ ๒๓๐-๒๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=5572&Z=5889&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=7&siri=76              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=468              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [468-498] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=468&items=31              The Pali Tipitaka in Roman :- [468-498] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=468&items=31              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/brahmali#pli-tv-kd19:3.2.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd19/en/horner-brahmali#Kd.19.3.2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :