ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

๕. สัมปสาทนียสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสยิ่งในพระผู้มีพระภาค
การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร
[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณ๑- ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’ [๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา(วาจาอย่าง องอาจ)อย่างสูง เธอถือเอาด้านเดียว๒- บันลือสีหนาท๓- ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’ สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจึงทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรม อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้’ ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิญาณ ในที่นี้หมายถึงสัพพัญญุตญาณ หรืออรหัตตมรรคญาณ (ที.ปา.อ. ๑๔๑/๖๔) @ ถือเอาด้านเดียวในที่นี้หมายถึงถือเอาการสันนิษฐานโดยอนุมานของตนเองเท่านั้น (ที.ปา.อ. ๑๔๒/๖๕) @ บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงบันลืออย่างประเสริฐ องอาจเหมือนพญาราชสีห์ (ที.ปา.อ. ๑๔๒/๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์ ซึ่งจักเสด็จมาอุบัติขึ้นในอนาคตกาลด้วยใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค เหล่านั้นจักทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี ปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่อง อยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น อย่างนี้” “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจของเราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ด้วย ใจของตนแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมี ปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นอย่างนี้” “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า” “สารีบุตร ก็ในเรื่องนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณ๑- ในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น บัดนี้ ไฉนเธอจึงกล่าวอาสภิวาจา อย่างสูง ถือเอาด้านเดียว บันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือ พราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค” [๑๔๓] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่า ข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้วิธีการอนุมาน เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของ @เชิงอรรถ : @ เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ คือรู้ใจผู้อื่น อ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลัง @คิดอะไรอยู่ ใจของเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส (ที.สี. (แปล) ๙/๒๔๒/๘๐-๘๑, ๔๗๖/๒๐๘-๒๐๙, @ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๕/๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

การบันลือสีหนาทของพระสารีบุตร

พระเจ้าแผ่นดินมีรากฐานมั่นคง มีกำแพงแข็งแรง มีป้อมค่ายแข็งแรง มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียวฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้ คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจดูหนทางตามลำดับรอบเมืองนั้น ไม่เห็นรอยต่อหรือ ช่องกำแพง โดยที่สุดแม้เพียงที่ที่พอแมวลอดออกได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิด เมื่อจะเข้าหรือออกเมืองนี้ ก็จะเข้าหรือออกทางประตูนี้เท่านั้น แม้ฉันใด วิธีการ อนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ก็จักทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่อง เศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพช- ฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอน กำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามความ เป็นจริง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ [๑๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ เพื่อฟังธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำ๑- ฝ่ายขาว๒- และฝ่ายที่มีส่วนเปรียบ๓- แก่ข้าพระองค์ พระองค์ทรงแสดง ธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว และฝ่ายที่มีส่วนเปรียบด้วย ประการใดๆ ข้าพระองค์ก็รู้ยิ่งในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรม บางส่วนในธรรมทั้งหลายแล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ @เชิงอรรถ : @ ฝ่ายดำ ในที่นี้หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) @ ฝ่ายขาว ในที่นี้หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) @ ที่มีส่วนเปรียบ ในที่นี้หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยแสดงการเปรียบ @เทียบว่าสังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องการบัญญัติอายตนะ

เทศนาเรื่องกุศลธรรม
[๑๔๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลายนับว่ายอดเยี่ยม ในเทศนานั้นมีกุศลธรรมดัง ต่อไปนี้ คือ ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา- วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องกุศลธรรมทั้งหลายอีกหรือ
เทศนาเรื่องการบัญญัติอายตนะ
[๑๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องการบัญญัติอายตนะก็นับว่ายอดเยี่ยม อายตนะภายในและอายตนะ ภายนอก มีอย่างละ ๖ ประการนี้ คือ ๑. ตากับรูป ๒. หูกับเสียง ๓. จมูกกับกลิ่น ๔. ลิ้นกับรส ๕. กายกับโผฏฐัพพะ ๖. ใจกับธรรมารมณ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องการบัญญัติอายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องการก้าวสู่ครรภ์

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรม ข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือ พราหมณ์อื่นผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องการบัญญัติ อายตนะอีกหรือ
เทศนาเรื่องการก้าวลงสู่ครรภ์๑-
[๑๔๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมในเรื่องการก้าวลงสู่ครรภ์ก็นับว่ายอดเยี่ยม การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ ประการนี้ คือ ๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา ไม่ รู้สึกตัวขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (และ)ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจาก ครรภ์ของมารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๑ ๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา แต่ ไม่รู้สึกตัวขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ ของมารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๒ ๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัว ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๓ ๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัว ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (และ)รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องการก้าวลงสู่ครรภ์ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๙๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์

เทศนาเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์
[๑๔๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์ก็นับว่ายอดเยี่ยม อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๔ ประการนี้ คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ดักใจได้ด้วยนิมิตว่า ‘ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้’ ถ้าเขา ดักใจได้มากอย่าง การดักใจนั้นย่อมเป็นเช่นนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต แต่ได้ฟังเสียงของ มนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาทั้งหลายแล้วจึงดักใจได้ว่า ‘ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่าน เป็นดังนี้’ ถ้าเขาดักใจได้มากอย่าง การดักใจนั้นย่อมเป็นเช่นนั้น ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ทั้งมิได้ฟังเสียงของ มนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาทั้งหลายแล้วดักใจได้เลย แต่ได้ฟังเสียง ละเมอของผู้วิตกวิจาร จึงดักใจได้ว่า ‘ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจ ของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้’ ถ้าเขา ดักใจได้มากอย่าง การดักใจนั้นย่อมเป็นเช่นนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ประการที่ ๓ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต มิได้ฟังเสียงของมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาทั้งหลายแล้วดักใจ ทั้งมิได้ฟังเสียงละเมอของผู้ วิตกวิจาร แล้วดักใจได้เลย แต่ย่อมกำหนดรู้ใจของผู้ได้สมาธิ ซึ่งยัง มีวิตกวิจารด้วยใจได้ว่า ‘มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งอยู่ด้วยประการใด เขาจะต้องตรึกถึงวิตกชื่อนี้ ในลำดับจิตนี้ ด้วยประการนั้น’ ถ้าเขา ดักใจได้มากอย่าง การดักใจนั้นย่อมเป็นเช่นนั้นทีเดียว ไม่เป็น อย่างอื่น นี้เป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ประการที่ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องทัสสนสมาบัติ

เทศนาเรื่องทัสสนสมาบัติ
[๑๔๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องทัสสนสมาบัติก็นับว่ายอดเยี่ยม ทัสสนสมาบัติ ๔ ประการนี้ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส๑- ความเพียรที่ตั้งมั่น๒- ความหมั่นประกอบ๓- ความไม่ประมาท๔- และอาศัย การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี๕- แล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๖- หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๗-’ นี้เป็นทัสสนสมาบัติประการที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ความเพียรเครื่องเผากิเลส หมายถึงความเพียรที่กำจัดความเกียจคร้านที่เป็นสังกิเลส (ที.ปา.อ. ๑๔๙/๗๕, @ที.ปา.ฏีกา ๑๔๙/๘๖) @ ความเพียรที่ตั้งมั่น หมายถึงความพยายามที่มุ่งตรงต่อภาวนา (ที.ปา.อ. ๑๔๙/๗๕, ที.ปา.ฏีกา ๑๔๙/๘๖) @ ความหมั่นประกอบ หมายถึงการประกอบความเพียรสม่ำเสมอ (ที.ปา.อ. ๑๔๙/๗๕, ที.ปา.ฏีกา ๑๔๙/๘๖) @ ความไม่ประมาท หมายถึงความไม่หลงลืมสติขณะปฏิบัติธรรม คือมีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา @(ที.ปา.อ. ๑๔๙/๗๕, ที.ปา.ฏีกา ๑๔๙/๗๕) @ การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี หมายถึงการพิจารณาโดยอุบายวิธีที่แยบคาย เช่น พิจารณาว่าไม่เที่ยงในสิ่ง @ที่ไม่เที่ยง พิจารณาว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์ (ที.ปา.อ. ๑๔๙/๗๕, ที.ปา.ฏีกา ๑๔๙/๗๕) @ คำว่า วักกะ โบราณแปลว่า “ม้าม” และแปลคำว่า ปิหกะ ว่า “ไต” แต่ในที่นี้แปลคำว่า วักกะ ว่า “ไต” @และแปลคำว่า ปิหกะ ว่า “ม้าม” อธิบายว่า ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน รูปร่างคล้ายลูกสะบ้า @ของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผล ที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกันมีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้ว @แยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓) ; พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ แปล “วักกะ” @ว่า “ไต” และให้บทนิยามของ “ไต” ไว้ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูก @สันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ” แปล “ปิหกะ” ว่า “ม้าม” และให้บทนิยามไว้ว่า @“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ @สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย”, Buddhadatta Mahathera, A Concise Pali-English Dictionary, @Rhys Davids, T.W.Pali-English Dictionary, ให้ความหมายของคำว่า “วักกะ” ตรงกันว่า หมายถึง @“ไต” (Kidney) @ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องทัสสนสมาบัติ

๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัย การใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ ตั้งมั่น ย่อมพิจารณากายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของบุรุษไป พิจารณากระดูก นี้เป็นทัสสนสมาบัติประการที่ ๒ ๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัย การใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของ บุรุษไปพิจารณากระดูก และรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนด โดยส่วนสอง คือ ที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และที่ตั้งอยู่ในโลกหน้า นี้เป็น ทัสสนสมาบัติประการที่ ๓ ๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัย การใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ ตั้งมั่น ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผม ลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ

ว่า ‘ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’ และก้าวข้ามผิวหนัง เนื้อ และเลือดของ บุรุษไปพิจารณากระดูกและรู้กระแสวิญญาณของบุรุษ ซึ่งกำหนด โดยส่วนสอง คือ ที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ และที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกหน้า นี้เป็น ทัสสนสมาบัติประการที่ ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องทัสสนสมาบัติ
เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ
[๑๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม บุคคล ๗ จำพวกนี้๑- คือ ๑. อุภโตภาควิมุต๒- (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน) ๒. ปัญญาวิมุต๓- (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ๓. กายสักขี๔- (ผู้เป็นพยานในนามกาย) ๔. ทิฏฐิปัตตะ๕- (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) ๕. สัทธาวิมุต๖- (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๔/๒๐-๒๑ @ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ @วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป เพราะ @เห็นด้วยปัญญา และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องปฏิปทา

๖. ธัมมานุสารี๑- (ผู้แล่นไปตามธรรม) ๗. สัทธานุสารี๒- (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ
เทศนาเรื่องปธาน
[๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปธานก็นับว่ายอดเยี่ยม โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปธาน
เทศนาเรื่องปฏิปทา
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม ปฏิปทา๓- ๔ ประการนี้ คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) @เชิงอรรถ : @ ธัมมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๖/๒๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น

๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือ เพราะปฏิบัติลำบาก และเพราะ รู้ได้ช้า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำ เพราะปฏิบัติลำบาก สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำ เพราะรู้ได้ช้า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีต ทั้ง ๒ ส่วน คือ เพราะปฏิบัติสะดวก และเพราะรู้ได้เร็ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปฏิปทา
เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น
[๑๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องมารยาทการพูดก็นับว่ายอดเยี่ยม คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พูดวาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท ไม่พูดวาจาอันทำ ความแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาอันส่อเสียด ไม่มุ่งเอาชนะกันกล่าววาจาอันเกิดจาก ความแข่งดีกัน กล่าวแต่วาจาอันมีหลักฐานด้วยปัญญาชื่อว่ามันตา ตามกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทการพูด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษก็นับว่ายอดเยี่ยม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องวิธีสั่งสอน

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีสัจจะ มีศรัทธา ไม่พูดหลอกลวง๑- ไม่พูด ป้อยอ๒- ไม่ทำนิมิต๓- ไม่พูดบีบบังคับ๔- ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ๕- คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ทำพอเหมาะพอดี ประกอบความ เพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ พูดมี ปฏิภาณดี มีคติ มีปัญญาทรงจำ มีความรู้ ไม่ติดอยู่ในกาม มีสติ มีปัญญาเครื่อง รักษาตน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษ
เทศนาเรื่องวิธีสั่งสอน
[๑๕๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องวิธีสั่งสอนก็นับว่ายอดเยี่ยม วิธีสั่งสอน ๔ ประการนี้ คือ ๑. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ โสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๖-’ @เชิงอรรถ : @ หลอกลวง หมายถึงลวงด้วยอาการ ๓ คือ (๑) พูดเลียบเคียง (๒) แสร้งแสดงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน @นั่ง นอน ให้น่าเลื่อมใส (๓) แสร้งปฏิเสธปัจจัย (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๑/๕๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๔๑, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) @ พูดป้อยอ หมายถึงพูดยกย่องมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๒/๕๕๓, @องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๘๓/๔๑, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) @ ทำนิมิต หมายถึงแสดงอาการทางกาย ทางวาจา เพื่อให้คนอื่นให้ทาน เช่น การพูดเป็นเลศนัย พูดเลียบเคียง @(อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๓/๕๕๓, อภิ.วิ.อ. ๘๖๓/๕๒๓, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔) @ พูดบีบบังคับ หมายถึงด่า พูดข่ม พูดนินทา ตำหนิโทษ พูดเหยียดหยาม และการนำเรื่องไปประจาน @ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า นินทาลับหลัง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๔/๕๕๔, อภิ.วิ.อ. ๘๖๔/๕๒๔, @วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๔-๒๕) @ แสวงหาลาภด้วยลาภ หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจ ต้องให้ตอบแทน @(อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๖๕/๕๕๔, วิสุทฺธิ. ๑/๑๖/๒๕) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง คือ (๑) สกทาคามิมรรค (๒) อนาคามิมรรค (๓) อรหัตตมรรค @(ที.สี.อ. ๓๗๓/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้นของบุคคลอื่น

๒. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ สกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็น โอปปาติกะ๑- เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพาน ในโลกนั้นไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ๔. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักทำให้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องวิธีสั่งสอน
เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้นของบุคคลอื่น
[๑๕๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้น๒- ของบุคคลอื่นก็นับว่ายอดเยี่ยม คือ ๑. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า’ @เชิงอรรถ : @ เป็นโอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงเป็นพระอนาคามีที่เกิดในภพชั้นสุทธาวาส(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น @มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในภพชั้นสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิด @เป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓) @ ความหยั่งรู้การหลุดพ้น ในที่นี้หมายถึงความรู้ในเรื่องการละกิเลสของผู้อื่น (ที.ปา.อ. ๑๕๕/๘๒, @ที.ปา.ฏีกา ๑๕๕/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

๒. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีก เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ๓. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมา จากโลกนั้นอีก’ ๔. พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยทรงมนสิการโดยแยบคาย เฉพาะพระองค์ว่า ‘บุคคลนี้จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้การหลุดพ้น ของบุคคลอื่น
เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ
[๑๕๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมในเรื่องสัสสตวาทะ(ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง)ก็นับว่ายอดเยี่ยม สัสสตวาทะ ๓ ประการนี้ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และ อาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำ จิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติ บ้าง หลายแสนชาติบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องสัสสตวาทะ

มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจาก ภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี ตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้อดีตกาลได้ว่า โลกเคยเสื่อมมาแล้ว หรือว่าเคยเจริญ มาแล้ว’ อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้อนาคตกาลว่า ‘โลกจักเสื่อม หรือว่าจัก เจริญ อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสา ระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ นี้เป็นสัสสตวาทะประการที่ ๑ ๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา กิเลส ... บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อน ได้หลายชาติ คือ ๑ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑- บ้าง ๒ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๓ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๔ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๕ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๑๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มี วรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจาก ภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้า รู้อดีตกาลได้ว่า โลกเคยเสื่อมมาแล้ว หรือว่าเคยเจริญมาแล้ว’ อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้อนาคตกาลว่า ‘โลกจักเสื่อม หรือว่าจักเจริญ อัตตาและ โลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์ เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’ นี้เป็นสัสสตวาทะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๗๒ หน้า ๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้

๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ... บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้ หลายชาติ คือ ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๒๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง ๓๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มี วรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจาก ภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี ตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้อดีตกาลได้ว่า โลกเคยเสื่อมมาแล้ว หรือเคยเจริญ มาแล้ว’ อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้อนาคตกาลว่า ‘โลกจักเสื่อม หรือว่าจักเจริญ อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ และเกิด แต่มีสิ่งที่ เที่ยงอยู่แน่’ นี้เป็นสัสสตวาทะประการที่ ๓ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องสัสสตวาทะ
เทศนาเรื่องความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้
[๑๕๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้ก็นับว่ายอดเยี่ยม คือ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ... บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การจุติและการอุบัติ

มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่อ อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติ จากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายที่ไม่อาจจะกำหนดอายุไม่ว่าด้วยการคำนวณ หรือด้วยการนับมีอยู่ สัตว์ที่เคยอาศัยอยูในอัตภาพใดๆ ไม่ว่าจะในรูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ หรือเนวสัญญีนาสัญญีภพก็มีอยู่ เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้ที่ทำให้ ระลึกชาติได้
เทศนาเรื่องความหยั่งรู้การจุติและการอุบัติ
[๑๕๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องความหยั่งรู้การจุติและการอุบัติของสัตว์ทั้งหลายก็นับว่ายอดเยี่ยม คือ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ... บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ เห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เขาเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เทศนาเรื่องการแสดงฤทธิ์

งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องความหยั่งรู้การจุติและ การอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เทศนาเรื่องการแสดงฤทธิ์
[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงธรรมในเรื่องการแสดงฤทธิ์ก็นับว่ายอดเยี่ยม การแสดงฤทธิ์ ๒ ประการนี้ คือ ๑. ฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ๑- ไม่เรียกว่า อริยะ ๒. ฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ ฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ ไม่เรียกว่า อริยะ เป็นอย่างไร คือ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิด อย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบน แผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือฤทธิ์ที่มีอาสวะ มีอุปธิ ไม่เรียกว่า อริยะ @เชิงอรรถ : @ มีอาสวะ มีอุปธิ ในที่นี้หมายถึงมีโทษ มีข้อติเตียน (ที.ปา.อ. ๑๕๙/๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก

ฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลว่า ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึง มีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่า เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าไม่ ปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ ว่า ‘เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็ย่อมมีสัญญาในสิ่ง ที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ‘เราพึงละวางสิ่งที่ปฏิกูล และไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็ย่อมมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือฤทธิ์ที่ไม่มีอาสวะ ไม่มีอุปธิ เรียกว่า อริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในการแสดงฤทธิ์ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไปอีก จะพึงมีสมณะหรือพราหมณ์ อื่นผู้รู้ธรรมยิ่ง มีปัญญาเกินไปกว่าพระผู้มีพระภาค ในเรื่องการแสดงฤทธิ์อีกหรือ
แสดงคุณพระศาสดาอย่างอื่นอีก
[๑๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา๑- ปรารภความเพียร๒- มีเรี่ยวแรง๓- จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ @เชิงอรรถ : @ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ในที่นี้หมายถึงพระโพธิสัตว์ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๔) @ ปรารภความเพียร หมายถึงประคองความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อน (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๔, @ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๐) @ มีเรี่ยวแรง หมายถึงมีความพยายามอย่างมั่นคง (ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

วิธีตอบคำถาม

บากบั่นของบุรุษ ด้วยความเอาธุระของบุรุษ๑- สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงบรรลุ เต็มที่แล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคไม่ทรงหมกมุ่นกับกามสุขัลลิกานุโยค๒- ซึ่งเป็นธรรม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่ทรงหมกมุ่นกับอัตตกิลมถานุโยค๓- ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๔- ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก๕- ได้โดยไม่ลำบาก๖-
วิธีตอบคำถาม
[๑๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่าน สารีบุตร ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในอดีตกาล ซึ่งมีปัญญาในทางพระ- สัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึง ตอบว่า ‘ไม่มี’ ถ้าเขาถามว่า ‘จักมีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในอนาคตกาล ซึ่งจะ มีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘ไม่มี’ ถ้าเขาถามว่า ‘มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในปัจจุบัน ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘ไม่มี’ @เชิงอรรถ : @ ความเอาธุระของบุรุษ หมายถึงความมุ่งมั่นที่จะทำธุระให้สำเร็จลุล่วงได้ (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๔) @ กามสุขัลลิกานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นด้วยกามสุขในวัตถุกาม (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๕) @ อัตตกิลมถานุโยค ในที่นี้หมายถึงการหมกมุ่นที่เป็นเหตุให้ตนเดือดร้อน เร่าร้อน เช่น การบำเพ็ญตบะ @แบบทรมานตน (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๕) @ อันมีในจิตยิ่ง หมายถึงอยู่เหนือกามาวจรจิต (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๕) @ ได้โดยไม่ยาก หมายถึงสามารถเข้าฌานตัดปัจจนีกธรรมได้ง่าย (ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๑) @ ได้โดยไม่ลำบาก หมายถึงสามารถออกจากฌานได้ตามที่กำหนดไว้ (ที.ปา.ฏีกา ๑๖๐/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

วิธีตอบคำถาม

แต่ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ ผู้อื่นในอดีตกาล ซึ่งมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณเสมอกับพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘มี’ ถ้าเขาถามว่า ‘จักมีสมณะ หรือพราหมณ์ผู้อื่นในอนาคตกาล ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณเสมอกับ พระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘มี’ ถ้าเขาถาม ว่า ‘จะมีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นในปัจจุบัน ซึ่งจะมีปัญญาในทางพระสัมโพธิญาณ เสมอกับพระผู้มีพระภาคไหม’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบว่า ‘ไม่มี’ แต่ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘เหตุไร ท่านสารีบุตรจึงตอบรับเป็น บางอย่าง ปฏิเสธเป็นบางอย่าง’ เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์จะพึงตอบอย่าง นี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ได้มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ซึ่งมีปัญญาในทางพระสัมโพธิ- ญาณเสมอกับเรา’ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘จักมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตกาล ซึ่งมีปัญญาในทางพระสัมโพธิ- ญาณเสมอกับเรา’ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน นั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นไปได้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ จะชื่อว่า พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้๑- พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกแล้ว สารีบุตร เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบ อย่างนี้ จะชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๐/๑๐๘, ที.สี. (แปล) ๙/๓๘๑/๑๖๑, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๑/๗๕, @องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]

เรื่องน่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ

เรื่องน่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
[๑๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑- ได้กราบทูลพระ ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ความ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ ทรงมีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ทรงโอ้อวด ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็นประจักษ์ธรรมเพียงข้อหนึ่งจากธรรมของพระองค์แล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ ทรงมี อานุภาพมากอย่างนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ทรงโอ้อวด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี เธอจงดูความมักน้อย ความสันโดษ ความ ขัดเกลาของตถาคตผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ โอ้อวด ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้เห็นประจักษ์ธรรมเพียงข้อหนึ่งจากธรรม ของเรานี้แล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ อุทายี เธอ จงดู ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคตผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่โอ้อวด” [๑๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “เพราะเหตุ นี้แล สารีบุตร เธอพึงกล่าวธรรมบรรยายนี้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เนืองๆ เถิด พวกโมฆบุรุษที่มีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคตฟังธรรม บรรยายนี้แล้ว จักละความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคตนั้นได้” เพราะเหตุที่ท่านพระสารีบุตรประกาศความเลื่อมใสนี้เฉพาะพระพักตร์ของพระ ผู้มีพระภาค ฉะนั้น เวยยากรณภาษิต๒- นี้จึงมีชื่อว่า ‘สัมปสาทนียะ’ แล
สัมปสาทนียสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ พระเถระชื่ออุทายีมี ๓ องค์ คือ (๑) พระโลฬุทายี (๒) พระกาฬุทายี (๓) พระมหาอุทายี ในที่นี้หมายถึง @พระมหาอุทายี (ที.ปา.อ. ๑๖๒/๙๒) @ เวยยากรณภาษิต หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นร้อยแก้วล้วน (ที.ปา.อ. ๑๖๓/๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๐๓-๑๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=11&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=2130&Z=2536                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=73              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=73&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=1460              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=73&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=1460                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn28/en/sujato https://suttacentral.net/dn28/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :