ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

๔. มหามาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรใหญ่
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
[๑๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์๑- (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการที่เราแสดงแล้ว ได้หรือไม่” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วได้” “เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร” “ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัว ของตน) ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้ ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้ ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต) ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้ ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือพยาบาท(ความคิดร้าย) ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้แล้วได้ ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ แล้วได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “มาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แก่ใคร อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อน มาเปรียบเทียบได้ มิใช่หรือ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ตัวของตน’ สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สักกายทิฏฐิของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ธรรมทั้งหลาย’ วิจิกิจฉา ในธรรมทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร วิจิกิจฉาของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ศีลทั้งหลาย’ สีลัพพต- ปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สีลัพพตปรามาสของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘กามทั้งหลาย’ กามฉันทะ ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร กามราคะของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย’ ความ พยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร พยาบาทของเด็กนั้น ก็ยัง นอนเนื่องอยู่ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อนมาเปรียบเทียบได้ มิใช่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาล ที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ภิกษุ ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๓๐] “อานนท์ ปุถุชน๑- ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตถูก สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม ถูกสักกายทิฏฐิครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชน บรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนมีจิตถูกสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุม ถูกสีลัพพตปรามาสครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สีลัพพต- ปรามาสนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ปุถุชนมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง กามราคะนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๓ (อภยราชกุมารสูตร) หน้า ๘๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

ปุถุชนมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ [๑๓๑] อานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตที่สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ ที่สักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้วตาม ความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละสักกายทิฏฐินั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้ อริยสาวกนั้นมีจิตที่วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ ที่วิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบาย เครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละวิจิกิจฉานั้น พร้อมทั้งอนุสัยได้ อริยสาวกนั้นมีจิตที่สีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ ที่สีลัพพตปรามาสครอบงำ ไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละสีลัพพตปรามาสนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้ อริยสาวกนั้นมีจิตที่กามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ ที่กามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และ รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ กามราคะนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้ อริยสาวกนั้นมีจิตที่พยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ ที่พยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้ อุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ พยาบาทนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์
[๑๓๒] อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัดแก่นเลยทีเดียว แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคล ไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้ เป็นไปได้ ที่บุคคลถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัด แก่นนั้นได้ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง น้อยนั้น อานนท์ แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษผู้มีกำลังมาก มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

รูปฌาน ๔
[๑๓๓] มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยอุปธิวิเวก๑- เพราะ ระงับความเกียจคร้านทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อม พิจารณาเห็น๒- ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ใน ปฐมฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้อง แตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขาร ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก๔- นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุจึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ @เชิงอรรถ : @ อุปธิวิเวก ในที่นี้หมายถึงความสงัดจากกามคุณ ๕ ประการ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) @(ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๐๘) @ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๖/๕๐๘-๕๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

อรูปฌาน ๔
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศ หาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ อมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือเวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอย ก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความสงบระงับสังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๔. มหามาลุงกยสูตร

ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็น โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ” ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ถ้ามรรคและปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกจึงเป็นเจโตวิมุต๑- บางพวกจึงเป็นปัญญาวิมุต๒- พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวว่าภิกษุเหล่านั้น มีอินทรีย์ต่างกัน๓-” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหามาลุงกยสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายความว่า บรรดาภิกษุผู้ดำเนินไปด้วยสมถกัมมัฏฐาน ภิกษุพวกหนึ่งมีจิตเตกัคคตา(ความที่จิตมี @อารมณ์เดียว)เป็นหลัก จึงชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต(หลุดพ้นด้วยสมาธิ) (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๑๐) @ หมายความว่า บรรดาภิกษุผู้ดำเนินไปด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน ภิกษุพวกหนึ่งมีปัญญาเป็นหลัก จึงชื่อว่า @เป็นปัญญาวิมุต(หลุดพ้นด้วยปัญญา) (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๑๐) @ มีอินทรีย์ต่างกัน หมายความว่า มีหลักปฏิบัติต่างกัน เช่น ท่านพระอานนท์ บำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วยัง @ไม่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เหตุนั้นพระสัพพัญญุตญาณจึงไม่ปรากฏแก่ท่าน แต่พระตถาคตแทงตลอดแล้ว @เหตุนั้นพระสัพพัญญุตญาณจึงปรากฏแก่พระองค์ ทั้งนี้เป็นเพราะอินทรีย์ต่างกัน หรือในเวลาบำเพ็ญ @สมถกัมมัฏฐานภิกษุรูปหนึ่งมุ่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นหลักก็จะหลุดพ้นด้วยเจโตวิมุตติ ภิกษุอีกรูป @หนึ่งมุ่งปัญญาเป็นหลัก ก็จะหลุดพ้นด้วยปัญญาวิมุตติ (ม.ม.อ. ๒/๑๓๓/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๔๒-๑๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=13&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=2814&Z=2961                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=153              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=153&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=2695              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=153&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=2695                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i153-e1.php# https://suttacentral.net/mn64/en/sujato https://suttacentral.net/mn64/en/bodhi https://suttacentral.net/mn64/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :