ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๐. จูฬปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์ เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงรับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’ ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ’ อนึ่ง อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ” “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๒๑-๒๓/๒๘-๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑๐. จูฬปุณณมสูตร

“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น สัตบุรุษ’ เพราะว่า อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม๑- มีความภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการ กระทำอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ไม่มีหิริ(ความละอาย ต่อบาป) ไม่มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) มีสุตะน้อย(การได้ยินได้ฟังน้อย) เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑) อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒) อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓) อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้ อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔) @เชิงอรรถ : @ อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงบาปธรรม (ม.อุ.อ. ๓/๙๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑๐. จูฬปุณณมสูตร

อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕) อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖) อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่ บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็น โอปปาติกะ๑- ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗) อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยไม่เคารพ๒- ไม่ให้ทานด้วยมือของตน ไม่ให้ ทานด้วยความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างเสียไม่ได้ เป็นผู้ไม่เห็นผลให้ทาน อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘) @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) @ ให้ทานโดยไม่เคารพ หมายถึงไม่เคารพทั้งไทยธรรมและบุคคล เช่น ถวายอาหารด้วยของไม่สะอาด @ไม่นอบน้อมต่อปฏิคาหก (ม.อุ.อ. ๓/๙๑/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑๐. จูฬปุณณมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรมอย่างนี้ มีความ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่าง อสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ อย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในคติของอสัตบุรุษ คติของอสัตบุรุษ คืออะไร คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน [๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษ หรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’ ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’ ส่วนสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ” “รู้ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’ เพราะว่า สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม มีความภักดีต่อสัตบุรุษ มี ความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการ กระทำอย่างสัตบุรุษ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ ให้ทานอย่างสัตบุรุษ สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑) สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๑๐. จูฬปุณณมสูตร

สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓) สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔) สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อ เสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕) สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลัก ทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖) สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา แล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วย ความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทิฏฐิว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล’ ดังนี้ แล้วจึงให้ทาน สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘) สัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรมอย่างนี้ มีความภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่าง สัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ คติของสัตบุรุษ คืออะไร คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทหวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทวทหสูตร ๒. ปัญจัตตยสูตร ๓. กินติสูตร ๔. สามคามสูตร ๕. สุนักขัตตสูตร ๖. อาเนญชสัปปายสูตร ๗. คณกโมคคัลลานสูตร ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร ๙. มหาปุณณมสูตร ๑๐. จูฬปุณณมสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๐๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๐๔-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=2187&Z=2323                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=130              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=130&items=23              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1375              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=130&items=23              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1375                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i130-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i130-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.110.than.html https://suttacentral.net/mn110/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :