ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๓. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๙ (มหาปุณณมสูตร) หน้า ๑๐๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษนั้น จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ธรรมของอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว เธอย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลสูง๑- บวช ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิได้เป็นผู้ ออกจากตระกูลสูงบวช’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง ธรรม คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว แต่ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจากตระกูลใหญ่๒- บวช ฯลฯ เป็นผู้ออก จากตระกูลมีโภคะมากบวช ... เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช อสัตบุรุษ นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช ส่วน ภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช’ เพราะความเป็นผู้มี โภคะโอฬารนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ ตระกูลสูง ในที่นี้หมายถึงตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ (ม.อุ.อ. ๓/๑๐๕/๖๘) @ ตระกูลใหญ่ ในที่นี้หมายถึงตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลแพศย์ (ม.อุ.อ. ๓/๑๐๕/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะ โอฬารบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม ธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มี โภคะโอฬารนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒-๔) [๑๐๖] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ๑- ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ‘เรามีชื่อเสียง มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย‘๒- เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียง ธรรมคือ โลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีชื่อเสียง ไม่ใช่เป็นผู้มียศ แต่ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น สัตบุรุษ นั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๕) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร๓- ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’ เพราะการได้นั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ มียศ ในที่นี้หมายถึงสมบูรณ์ด้วยบริวาร (ม.อุ.อ. ๓/๑๐๖/๖๘) @ มีศักดิ์น้อย ในที่นี้หมายถึงมีบริวารน้อย (ม.อุ.อ. ๓/๑๐๖/๖๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๘๒ (โคปกโมคคัลลานสูตร) หน้า ๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะการได้นั้น ธรรมคือโลภะย่อม ไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะการได้นั้น สัตบุรุษนั้น จึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๖) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็น พหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นพหูสูต’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น อสัตบุรุษ นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพหูสูต ธรรมคือโลภะ ย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อม ไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ใน ภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๗) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงจำวินัย ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา เป็นผู้ทรงจำวินัย ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย’ เพราะความเป็นผู้ทรง จำวินัยนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย แต่เป็นผู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ ข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๘) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา เป็นพระธรรมกถึก ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นพระธรรมกถึก’ เพราะความเป็น พระธรรมกถึกนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ธรรม คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๙) [๑๐๗] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่ ป่าเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แต่ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรง ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๑) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ ความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่ โคนไม้เป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็น วัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๓) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือ การอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการอยู่ ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร’ เพราะความเป็น ผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ ความเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๔-๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

สมาบัติ ๘ ประการ
[๑๐๘] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็น ผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มี พระภาคจึงตรัสอตัมมยตา๑- ไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ อตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๙) อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป อสัตบุรุษบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะจตุตถฌานสมาบัติ พระผู้มี พระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึง ทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๐-๒๒) @เชิงอรรถ : @ อตัมมยตา ในที่นี้หมายถึงความไม่มีตัณหา (ม.อุ.อ. ๓/๑๐๘/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง อสัตบุรุษบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากาสานัญ- จายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ’ เพราะ อากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๓) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๔) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษก้าวล่วงวิญญาณณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๓. สัปปุริสสูตร

ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้ อากิญจัญญายตนสมาบัติ’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๕) อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้เนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติ’ เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น จึงยกตน ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะเนวสัญญานาสัญญายตน- สมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วย เหตุใดๆ เหตุนั้นๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะเนวสัญญา- นาสัญญายตนสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๖) อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของสัตบุรุษ นั้นจึงสิ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่ถือตัวกับใครๆ ไม่ถือตัวในที่ไหนๆ และ ไม่ถือตัวด้วยเหตุไรๆ (๒๗)” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สัปปุริสสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๒๕-๑๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=2670&Z=2898                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=178              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=178&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1719              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=178&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1719                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i178-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.113.than.html https://suttacentral.net/mn113/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :