ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

๖. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ
[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระภูมิชะ๑- ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้าไปหาท่านพระภูมิชะถึงที่อยู่แล้วได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับท่านพระภูมิชะว่า “ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณ- พราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความ หวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ ผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้’ ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส สอนไว้อย่างไร” ท่านพระภูมิชะถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับ มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรง พยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ @เชิงอรรถ : @ ท่านพระภูมิชะ นี้ เป็นพระเจ้าลุงของชยเสนราชกุมาร (ม.อุ.อ. ๓/๒๒๓/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่ สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวก เขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็ สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’ พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้” ชยเสนราชกุมารตรัสว่า “ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มี ทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมีความรู้ เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้” ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมาร ทรงอังคาสท่านพระภูมิชะด้วยภัตตาหารใน ภาชนะอันเป็นส่วนของพระองค์เองเลยทีเดียว [๒๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่ ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัส สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ สมควร ได้รับสั่งกับข้าพระองค์ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้ว ประพฤติ พรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ ผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส สอนไว้อย่างไร’ เมื่อชยเสนราชกุมารรับสั่งอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ถวายพระพรว่า ‘พระ ราชกุมาร เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้ง ความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่ สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็ สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’ เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่ เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้’ ชยเสนราชกุมารรับสั่งว่า ‘ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมี ความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้ มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำ กล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภูมิชะ ช่างเถิด เธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อ พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็น มิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด) เป็นมิจฉาสังกัปปะ(มีความดำริผิด) เป็นมิจฉาวาจา(มี การเจรจาผิด) เป็นมิจฉากัมมันตะ(มีการงานผิด) เป็นมิจฉาอาชีวะ(มีการเลี้ยงชีพ ผิด) เป็นมิจฉาวายามะ(มีความเพียรผิด) เป็นมิจฉาสติ(มีความระลึกผิด) เป็น มิจฉาสมาธิ(มีความตั้งใจผิด) ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ ผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้ [๒๒๕] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงไปในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขา ก็ไม่สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำ พรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้น้ำมัน แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นมิจฉาสังกัปปะ เป็นมิจฉาวาจา เป็นมิจฉากัมมันตะ เป็นมิจฉาอาชีวะ เป็น มิจฉาวายามะ เป็นมิจฉาสติ เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ ผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด แต่รีด(นมสด) จากเขาโคแม่ลูกอ่อน ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้ นมสด ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้ นมสด ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ฯลฯ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วรีดเอาจากเขาของโคแม่ ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้นมสด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้นมสด แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ ผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้ [๒๒๖] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว เสาะหาเนยข้น เทน้ำลงในอ่างแล้ว กวนด้วยเครื่องกวน ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังเทน้ำลงไปในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่ สามารถได้เนยข้น ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทน้ำลงในอ่างแล้วกวน ด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่สามารถได้เนยข้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้เนยข้น แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้สดที่ มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วจึงเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้ เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้ สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้ไฟ แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็น สัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมาวาจา เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะ เป็น สัมมาวายามะ เป็นสัมมาสติ เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา ก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้ [๒๒๗] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยแป้งงาลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็สามารถได้น้ำมันงา ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็สามารถได้น้ำมันงา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้น้ำมันงา แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด จึง รีด(นมสด) จากเต้านมของโคแม่ลูกอ่อน ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเต้านมโคแม่ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้ นมสด ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วพึงรีดจากเต้านมโคแม่ ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้นมสด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมสด แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วพึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้ [๒๒๘] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว เสาะหาเนยข้น เทนมส้มลงในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเทนมส้มลงในอ่างพึงกวนด้วยเครื่องกวน เขา ก็สามารถได้เนยข้น ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทนมส้มลงในอ่างแล้ว กวนด้วยเครื่องกวน เขาก็สามารถได้เนยข้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้เนยข้น แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๖. ภูมิชสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้แห้ง มาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้ว เอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็สามารถได้ไฟ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็สามารถได้ไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้ไฟ แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ... ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้ ภูมิชะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้ ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสนราชกุมารผู้เลื่อมใส แล้ว จะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

๗. อนุรุทธสูตร

ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะข้าพระองค์จัก อธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้อันน่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน ให้ แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไร” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภูมิชสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๕๖-๒๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=5609&Z=5818                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=405              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=405&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=3682              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=405&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=3682                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i405-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i405-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.126.than.html https://suttacentral.net/mn126/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :