ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่พระโลมสกังคิยะ
[๒๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ อยู่ที่ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป จันทนเทพบุตร มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วนิโครธาราม เข้าไปหา ท่านพระโลมสกังคิยะถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระ โลมสกังคิยะอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว เจริญได้ไหม” ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทส และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม” “แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ได้ไหม” “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม” “ข้าพเจ้าจำได้” “ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า” “ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นเอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’ ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้ ขอท่าน จงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์” จันทนเทพบุตรกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง [๒๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป จึงเก็บงำ เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เมื่อจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปยังพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้ สว่างทั่วนิโครธาราม เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้ กล่าวกับข้าพระองค์ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว เจริญได้ไหม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทพบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว กับเทพบุตรนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’ เทพบุตรกล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคล ผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’ ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’ ‘ข้าพเจ้าจำได้’ ‘ผู้มีอายุ ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า’ ‘ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอุทเทส และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’ ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้แล ขอ ท่านจงศึกษา เล่าเรียน และทรงจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว เจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วย ประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์’ เทพบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงอุทเทสและวิภังค์ของ บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด” [๒๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ก็เธอรู้จักเทพบุตรนั้นไหม” ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า “ไม่รู้จัก พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

“ภิกษุ เทพบุตรนั้นชื่อจันทนะ จันทนเทพบุตรสนใจ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิต ทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตสดับธรรม ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุนั้นรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า “บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เราได้มีรูปอย่างนี้’ ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เราได้มี วิญญาณอย่างนี้’ ภิกษุ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีรูปอย่างนี้” ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี วิญญาณอย่างนี้” ภิกษุ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมีรูปอย่างนี้” ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี วิญญาณอย่างนี้” ภิกษุ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมีรูปอย่างนี้” ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี วิญญาณอย่างนี้” ภิกษุ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ภิกษุ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง ภิกษุ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๔๓-๓๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=7494&Z=7622                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=565              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=565&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=4525              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=565&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=4525                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i565-e.php# https://suttacentral.net/mn134/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :