ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๑๐. วชิราสูตร
ว่าด้วยวชิราภิกษุณี
[๑๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า วชิราภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพัก กลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วชิราภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา วชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้วได้กล่าวกับวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า ใครสร้างสัตว์นี้ ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์เกิดขึ้นที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๒๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา” ครั้งนั้นแล วชิราภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อว่าอะไรเป็นสัตว์ กองแห่งสังขารล้วนๆ นี้ บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ก็มีได้ เหมือนคำว่ารถมีได้เพราะประกอบส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป นอกจากทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไป๑- ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “วชิราภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
วชิราสูตรที่ ๑๐ จบ
ภิกขุนีสังยุต จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. อาฬวิกาสูตร ๒. โสมาสูตร ๓. กีสาโคตมีสูตร ๔. วิชยาสูตร ๕. อุปปลวัณณาสูตร ๖. จาลาสูตร ๗. อุปจาลาสูตร ๘. สีสุปจาลาสูตร ๙. เสลาสูตร ๑๐. วชิราสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๗-๕๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=171              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=4367&Z=4404                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=552              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=552&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4791              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=552&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4791                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i522-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.010.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.010.bodh.html https://suttacentral.net/sn5.10/en/sujato https://suttacentral.net/sn5.10/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :