ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๓. พรหมเทวสูตร

๓. พรหมเทวสูตร
ว่าด้วยพระพรหมเทพ
[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรของนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทพ ออกบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น ท่านพระพรหมเทพหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์๑- ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ก็แลท่าน พระพรหมเทพเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้นเวลาเช้า ท่านพระพรหมเทพครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีตามลำดับตรอกแล้วเข้าไป ยังที่อยู่แห่งมารดาของตน สมัยนั้น นางพราหมณีมารดาของท่านพระพรหมเทพ ถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมเป็นนิตย์ ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมดำริว่า “นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทพนี้ ถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหม เป็นนิตย์ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ” ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดี พรหมยืนอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกับนางพราหมณีมารดาของท่านพระพรหมเทพ ด้วยคาถาทั้งหลายว่า นางพราหมณี ท่านถือการบูชา ด้วยก้อนข้าว แก่พรหมใดเป็นนิตย์ @เชิงอรรถ : @ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายเอาพระอรหัตตผลอันเป็น @จุดสูงสุดของมรรคพรหมจรรย์ (ที.สี.อ. ๔๐๔/๓๐๐) @ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นบริบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้อง @ทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่า อเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๓. พรหมเทวสูตร

พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้ นางพราหมณี อาหารของพรหมไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของพรหม ทำไมจึงบ่นถึงพรหม นางพราหมณี ก็ท่านพระพรหมเทพของท่านนั้น เป็นผู้ไร้อุปธิ๑- ถึงความเป็นอติเทพ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล เห็นภัยเนืองๆ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น ท่านพระพรหมเทพผู้เข้าสู่เรือนของท่านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้สมควรแก่ก้อนข้าวที่บุคคลพึงนำมาบูชา ผู้ถึงฝั่งแห่งเวท อบรมตนแล้ว ควรแก่ทักษิณาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ลอยบาปแล้ว ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิฉาบทา เป็นคนเยือกเย็น กำลังเที่ยวแสวงหาอาหารอยู่ อดีตและอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทพนั้น ท่านพระพรหมเทพเป็นผู้สงบระงับ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง วางอาชญาแล้ว ในปุถุชนผู้ยังมีความหวาดหวั่นและในพระขีณาสพผู้มั่นคง ขอท่านพระพรหมเทพนั้นจงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศ สำหรับบูชาพรหมของท่าน ท่านพระพรหมเทพซึ่งเป็นผู้ปราศจากเสนามาร มีจิตสงบระงับ ฝึกตนแล้ว เที่ยวไปเหมือนช้างประเสริฐ ไม่หวั่นไหว เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษแล้ว ขอท่านพระพรหมเทพนั้น จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศ สำหรับบูชาพรหมของท่าน @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้ไร้อุปธิ หมายถึงเว้นจากอุปธิคือกิเลส อภิสังขารและกามคุณ (สํ.ส.อ. ๑/๑๗๔/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทพนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล๑- นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว จงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้สืบๆ ไป ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทพนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว จงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้สืบๆ ไป
พรหมเทวสูตรที่ ๓ จบ
๔. พกสูตร
ว่าด้วยพกพรหม
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พกพรหมได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า “ฐานะ แห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง เครื่องสลัดออก(จากทุกข์)อันยิ่งอย่างอื่นนอกจากฐานะ แห่งพรหมนี้ไม่มี” @เชิงอรรถ : @ ทักขิไณยบุคคล หมายถึงบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงผู้ทำทักษิณาที่เขานำมาถวายให้มี @ผลมาก (วิสุทฺธิ. ๑/๑๕๖/๒๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๓๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๓๕-๒๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=174              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=4535&Z=4589                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=563              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=563&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5038              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=563&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5038                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i555-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn6.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :