ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๑. ธนัญชานีสูตร

๗. พราหมณสังยุต
๑. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. ธนัญชานีสูตร
ว่าด้วยธนัญชานีพราหมณี
[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร คนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ครั้งนั้น นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตรเข้าไปเพื่อพราหมณ์ภารทวาชโคตร ก้าวเท้า พลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กล่าว กับนางธนัญชานีพราหมณีดังนี้ว่า “ก็หญิงถ่อยคนนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นนั้น อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าในที่ไหนๆ หญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะของพระศาสดานั้น ของเจ้าบ้างละ” นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยก วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๑. ธนัญชานีสูตร

มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ท่านจงไป เถิด ไปแล้วก็จักรู้เอง” ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธ ไม่พอใจ จึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลกำจัดอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข กำจัดอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงพอพระทัยการกำจัดธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลกำจัดความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข กำจัดความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก พราหมณ์ พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการกำจัดความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลกำจัดความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด” พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร

มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๑- ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว๒- ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ธนัญชานีสูตรที่ ๑ จบ
๒. อักโกสสูตร
ว่าด้วยอักโกสกภารทวาชพราหมณ์
[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณ- โคดมแล้ว” จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่าบริภาษ พระผู้มีพระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มิตร อำมาตย์๓- ญาติและสาโลหิต๔- ผู้เป็นแขกของท่าน มาเยือนท่านบ้างไหม” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๗๔ หน้า ๒๓๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๗๔ หน้า ๒๓๕ ในเล่มนี้ @ มิตร หมายถึงคนรู้จักกันเพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกันหรือรับของจากกัน @อำมาตย์ หมายถึงผู้ทำกิจร่วมกัน เช่น ปรึกษาหารือกัน ไปด้วยกัน นั่งด้วยกันเป็นต้น @(สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๗๖/๖๒๙) @ ญาติ หมายถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงานกัน ได้แก่ มารดาบิดาของสามีและเครือญาติฝ่ายมารดา @บิดาของสามี หรือมารดาบิดาของภรรยาและเครือญาติฝ่ายมารดาบิดาของภรรยา สาโลหิต หมายถึงผู้ @ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, @สํ.ม.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๖๓-๒๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=187              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5136&Z=5184                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=626              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=626&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5552              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=626&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5552                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i626-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.001.wlsh.html https://suttacentral.net/sn7.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :