ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร

๕. มานัตถัทธสูตร
ว่าด้วยมานัตถัทธพราหมณ์
[๒๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อมานัตถัทธะ(กระด้างเพราะถือตัว) พำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี เขาไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชายเลย สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัท หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่ ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีบริษัท หมู่ใหญ่แวดล้อมทรงแสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ถ้าพระสมณโคดมจักทักทายเรา เราก็จักทักทายท่าน ถ้าพระสมณโคดมไม่ทักทายเรา เราก็จักไม่ทักทายท่าน” ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืน นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทักทาย มานัตถัทธพราหมณ์ ต้องการจะกลับจากที่นั้นด้วยคิดว่า “พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร” ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของมานัตถัทธพราหมณ์ด้วย พระทัยแล้ว ได้ตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า พราหมณ์ ในโลกนี้ใครที่ยังมีมานะไม่ดีเลย บุคคลมาด้วยประโยชน์ใด พึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นไว้ ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า “พระสมณโคดมทรงทราบจิตของเรา” จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง จุมพิตพระ ยุคลบาทพระผู้มีพระภาคและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ” ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชาย แต่พระสมณโคดม ทรงทำคนเช่นนี้ให้ทำการนอบน้อมได้เป็นอย่างดียิ่ง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ว่า “พอละ พราหมณ์ เชิญลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว” ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนที่นั่งของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรงในใคร บูชาใครด้วยดีแล้วจึงจะเป็นการดี พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงในบุคคลเหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี บุคคลพึงทำลายมานะ ไม่ควรกระด้าง พึงนอบน้อมพระอรหันต์ ผู้เยือกเย็น ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ โคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต”
มานัตถัทธสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=201              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=5740&Z=5784                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=694              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=694&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6518              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=694&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6518                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn7.15/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :