ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร
ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
[๒๑๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิด ดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอ ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าว คาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม ท่านจงละความเย่อหยิ่ง และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๔. อานันทสูตร

เพราะเหตุนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้ ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่าง ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์ได้แล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งละความเย่อหยิ่งได้หมด สงบระงับแล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา๑-
เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ จบ
๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๒๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม กระผมถูกกามราคะแผดเผา จิตของกระผมเร่าร้อน ดังกระผมจะขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย ท่านพระอานนท์กล่าวว่า จิตของท่านเร่าร้อน เพราะความสำคัญผิด ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะ @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๒๘-๑๒๓๑/๕๓๙-๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๐๖-๓๐๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=211              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=6059&Z=6081                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=733              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=733&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6661              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=733&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6661                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn8.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :