ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๖. สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา
[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล- ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี พระภาคว่า ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ หากว่าความไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น ยศและเกียรติย่อมมีแก่เขา อนึ่ง ผู้นั้นละทิ้งร่างกายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร

เพราะว่ากิเลสเป็นเครื่องข้องย่อมไม่รุมเร้าบุคคลนั้น ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนพาลมีปัญญาทราม ประกอบความประมาทอยู่เสมอ ส่วนคนฉลาดรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนคนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าประกอบความประมาท และอย่าประกอบความเชยชมยินดีในกามเลย เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมได้รับความสุขอย่างยิ่ง๑-
สัทธาสูตรที่ ๖ จบ
๗. สมยสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ @เชิงอรรถ : @ ความสุขอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๒/๔/๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๔๗-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=731&Z=751                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=112              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=112&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1720              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=112&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1720                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn1.36/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.36/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :