ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๔. จตุตถวรรค ๓. อจริงสูตร

๓. อจริงสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวแสวงหาคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔
[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของปฐวีธาตุ ได้พบคุณของปฐวีธาตุ ได้เห็นคุณของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษของปฐวีธาตุ ได้พบ โทษของปฐวีธาตุ ได้เห็นโทษของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา เครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัดออก จากปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของอาโปธาตุ ... เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเตโชธาตุ ... เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวาโยธาตุ ได้พบคุณของวาโยธาตุ ได้เห็นคุณของ วาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวาโยธาตุ ได้พบโทษของ วาโยธาตุ เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นโทษของวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้พบเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัด ออกจากวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ- พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’ เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเรา จึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’ อนึ่ง ญาณและทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
อจริงสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=111              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=4565&Z=4594                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=406              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=406&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3896              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=406&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3896                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i403-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn14.32/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :