ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๙. ฌานาภิญญสูตร
ว่าด้วยฌานและอภิญญา
[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและ สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป แม้กัสสปะก็บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะปีติจางคลายไป แม้กัสสปะเป็น ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่ เธอต้องการเช่นกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๙. ฌานาภิญญสูตร

เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน เราบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ได้ตราบเท่าที่เรา ต้องการ เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว แม้กัสสปะก็บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อากาศไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เพราะล่วง รูปสัญญา ไม่มนสิการโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราบรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ ก็บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี’ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุ ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯลฯ เราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ) ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไป ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไป ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๙. ณานาภิญญสูตร

แม้กัสสปะก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน เราได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์ ... ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ฯลฯ เรากำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ ... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็น สมาธิ ... จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น ... หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่ หลุดพ้นได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วย จิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิต ไม่หลุดพ้นตราบเท่าที่เธอต้องการ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ เราจุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ อย่างนั้นๆ ครั้นจุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ แม้กัสสปะก็ระลึกชาติ ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้ง ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ เราเห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณ ทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น ไปตามกรรมว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๐. อุปัสสยสูตร

ตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำ ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็น หมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย ประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็เห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการ ฉะนี้ ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะก็รู้แจ้ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน”
ฌานาภิญญสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๕๐-๒๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=147              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=5558&Z=5659                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=497              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=497&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4370              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=497&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4370                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn16.9/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.9/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :