ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้ สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย” “กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม- ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ ต่างหากเกิดขึ้นมาย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ในพระธรรม ๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ในสมาธิ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป แห่งสัทธรรม
สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น
กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในพระศาสดา ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในพระธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในสิกขา ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ ยำเกรงในสมาธิ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม
สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ จบ
กัสสปสังยุต จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปีสูตร ๓. จันทูปมาสูตร ๔. กุลูปกสูตร ๕. ชิณณสูตร ๖. โอวาทสูตร ๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร ๙. ฌานาภิญญสูตร ๑๐. อุปัสสยสูตร ๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๖๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=151              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=5846&Z=5888                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=531&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4997              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=531&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4997                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta13 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn16/sn16.013.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn16/sn16.013.wlsh.html https://suttacentral.net/sn16.13/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.13/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :