ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๔. นวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหม่
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งกลับจากบิณฑบาตหลัง จากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ ทั้งหลายในเวลาทำจีวร ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ ทั้งหลายในเวลาทำจีวร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]

๔. นวสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจง ไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่ง ให้ท่านเข้าเฝ้า’ เธอรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้นว่า ‘ภิกษุ ได้ยินว่า เธอกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวรจริงหรือ’ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ทำกิจของตน” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรู้ความคิดปริวิตกทางจิตของภิกษุนั้น จึงรับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้ มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อาศัยอธิจิตตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “บุคคลปรารภความเพียรย่อหย่อน กำลังน้อยไม่พึงบรรลุนิพพาน อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้ @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]

๕. สุชาตสูตร

ส่วนภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นอุดมบุรุษ ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”
นวสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=232              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=7293&Z=7326                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=696              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=696&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5719              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=696&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5719                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i686-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn21.4/en/sujato https://suttacentral.net/sn21.4/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :