ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

๓. ญาณวัตถุสูตร
ว่าด้วยญาณวัตถุ
[๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ญาณวัตถุ ๔๔ อะไรบ้าง คือ ๑. ความรู้ในชราและมรณะ ๒. ความรู้ในความเกิดแห่งชราและมรณะ ๓. ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๕. ความรู้ในชาติ ๖. ความรู้ในความเกิดแห่งชาติ ๗. ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๘. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ ๙. ความรู้ในภพ ๑๐. ความรู้ในความเกิดแห่งภพ ๑๑. ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑๒. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งภพ ๑๓. ความรู้ในอุปาทาน ๑๔. ความรู้ในความเกิดแห่งอุปาทาน ๑๕. ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑๖. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑๗. ความรู้ในตัณหา ๑๘. ความรู้ในความเกิดแห่งตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

๑๙. ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๒๐. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๒๑. ความรู้ในเวทนา ๒๒. ความรู้ในความเกิดแห่งเวทนา ๒๓. ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๒๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๒๕. ความรู้ในผัสสะ ... (๒๖-๒๘) ๒๙. ความรู้ในสฬายตนะ ... (๓๐-๓๒) ๓๓. ความรู้ในนามรูป ... (๓๔-๓๖) ๓๗. ความรู้ในวิญญาณ ... (๓๘-๔๐) ๔๑. ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๔๒. ความรู้ในความเกิดแห่งสังขาร ๔๓. ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๔๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ชราและมรณะ เป็นอย่างไร คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิด แห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้ความเกิด แห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง ชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้ ความเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ๑- (๒) อันวยญาณ๒- ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง @เชิงอรรถ : @ ธัมมญาณ ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ คือ ญาณในอริยมรรค คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคล @แต่ละชั้น อรรถกถากล่าวว่า เป็นเสขภูมิของพระขีณาสพ เป็นญาณอันดับที่ ๑๔ ในญาณ ๑๖ @(สํ.นิ.อ. ๒/๓๓/๗๗, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๖๑-๖๒/๙๙-๑๐๒, วิสุทฺธิ. ๒/๘๐๖-๘๑๕/๓๕๓-๓๕๙) @ อันวยญาณ ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนคือสำรวจรู้ @มรรคผล กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยัง @เหลืออยู่ ญาณนี้เป็นญาณอันดับที่ ๑๖ ในญาณ ๑๖ (สํ.นิ.อ. ๒/๓๓/๗๗, ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๖๕/๑๐๖-๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วย ญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ...ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ... สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร ๓. จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดสังขารทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและ อนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขารทั้งหลาย ได้รู้ความ เกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร

สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขารทั้งหลาย จักรู้ ความเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง สังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่าอันวยญาณของอริยสาวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ (๒) อันวยญาณ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุ กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตู อมตนิพพานบ้าง”
ญาณวัตถุสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๖๙-๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=1440&Z=1525                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=118              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=118&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1699              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=118&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1699                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i098-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn12.33/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.33/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :