ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๗. สัญญานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา
[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง แห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ(ความดำริ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง สัญญา ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะ(ความเร่าร้อน)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่าง แห่งปริเยสนา(การแสวงหา)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร

ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง สังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง ปริฬาหะ เป็นอย่างไร รูปสัญญา๑- เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะ๒- เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา รูปฉันทะ๓- เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปปริฬาหะ๔- เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนา๕- เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธัมมสัญญา ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ อาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง ปริฬาหะเป็นอย่างนี้”
สัญญานานัตตสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ รูปสัญญา คือสัญญาที่ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙) @ รูปสังกัปปะ คือความดำริที่ประกอบด้วยจิต ๓ ดวง มีสัมปฏิจฉนจิต (จิตที่รับรู้อารมณ์) เป็นต้น @(สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙) @ รูปฉันทะ คือความพอใจในรูปทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙) @ รูปปริฬาหะ คือความเร่าร้อน เพราะเผาผลาญรูปทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙) @ รูปปริเยสนา คือการแสวงหารูปที่เคยเห็นเคยคบ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=86              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=3801&Z=3825                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=344              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=344&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=3333              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=344&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=3333                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i333-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn14.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :