ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน
[๑๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๐๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๘. อรหันตสูตร

อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน๑- ไม่มีทางตกต่ำ๒- มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิ๓- ในวันข้างหน้า”
โสตาปันนสูตรที่ ๗ จบ
๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔- หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
อรหันตสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓ ดู สํ.ม.(แปล) ๑๙/๑๐๐๑/๔๙๕) @ ไม่มีทางตกต่ำ หมายถึงไม่ตกไปในอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต และพวกอสูร @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๓ เบื้องสูง (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕) @ สิ้นสังโยชน์ ในที่นี้หมายถึงบรรลุอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=17&siri=109              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3572&Z=3579                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=296              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=296&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=296&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i274-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.109.wlsh.html https://suttacentral.net/sn22.109/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :