ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น
[๒๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเอง ความ บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของบุรุษ ไม่มีความ พยายามของบุรุษ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑- ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตาตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ เฉพาะของตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒- ทั้ง ๖ เท่านั้น” ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง เกิดขึ้นว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น’ เมื่อมีเวทนา ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ สัตว์ หมายถึงสัตว์ทุกจำพวก เช่น อูฐ โค ลา ปาณะ หมายถึงสัตว์ที่มี ๑ อินทรีย์ ๒ อินทรีย์ เป็นต้น @ภูตะ หมายถึงสัตว์ทุกจำพวกที่เกิดจากฟองไข่และเกิดในครรภ์มารดา ชีวะ หมายถึงพวกพืชทุกชนิด @(สํ.ข.อ. ๒/๒๑๒/๓๗๒-๓๗๓, ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) @ อภิชาติ หมายถึงการกำหนดหมายชนชั้น เช่น โจรเป็นกัณหาภิชาติ (สีดำ) นักบวชเป็นนีลาภิชาติ @(สีเขียว) นิครนถ์เป็นโลหิตาภิชาติ (สีแดง) คฤหัสถ์เป็นหลิททาภิชาติ (สีเหลือง) อาชีวกเป็นสุกกาภิชาติ @(สีขาว) นักบวชที่เคร่งวัตรปฏิบัติเป็นปรมสุกกาภิชาติ (สีขาวยิ่งนัก) (สํ.ข.อ. ๒/๒๒๓-๒๑๕/๓๗๔, @ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร ... เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง เกิดขึ้นว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]

๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เหตุสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๙๐-๒๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=17&siri=210              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=5096&Z=5142                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=429              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=429&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8193              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=429&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8193                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i417-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn24.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :