ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา
[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ เข้าใจแล้ว” “ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๐๒/๑๑๓-๑๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้” “ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้” ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์๒- ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย๓-
อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) @ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลอันเป็น @จุดหมายสูงสุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (ที.สี.อ. ๔๐๕/๓๐๐) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๖๔/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๔๘-๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=17&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=772&Z=804                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=74              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=74&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6431              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=74&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6431                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i071-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.036.than.html https://suttacentral.net/sn22.35/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.35/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :