ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. ทุติยโสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร สูตรที่ ๒
[๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณ- คหบดีบุตรดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒/๓๕-๓๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดรูป ไม่รู้ชัดความ เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดความดับแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดสัญญา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขาร ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัด ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความ เป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิด ขึ้นแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดเวทนา ... รู้ชัดสัญญา ... รู้ชัดสังขาร ... รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัด ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยโสณสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๗๐-๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=17&siri=50              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=1139&Z=1160                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=101              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=101&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=101&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i087-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/sn22.50/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.50/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :