ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพญาราชสีห์
[๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่ อาศัยบิดกายชำเลืองดูรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วหลีกไปหา เหยื่อ โดยมากพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาราชสีห์บันลือสีหนาท ย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้า โพรง พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวก สัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ แม้พญาช้างของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผูกไว้ด้วยเชือกอย่าง มั่นคงในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด ตกใจกลัว ถ่ายมูตรคูถ หนีไปทางใดทางหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พญาราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต๑- อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๒- แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่ ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ๓- ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า @เชิงอรรถ : @ ตถาคต คำนี้ท่านกล่าวอธิบายไว้โดยเหตุ ๘ อย่าง คือ (๑) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น @(๒) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้ @(๔) เรียกว่าตถาคต เพราะทรงเห็นสิ่งแท้จริง (๖) เรียกว่าตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง (๗) เรียกว่าตถาคต @เพราะทรงทำจริง (๘) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงำ @(สํ.ข.อ. ๒/๗๘/๓๑๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๓/๓๕๔) @ ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบ @ด้วยภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความ @สำเร็จประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม @(๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว @(๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๑๕-๑๑๘) @ สักกายะ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ ประการ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) @(สํ.ข.อ. ๒/๗๘/๓๑๖, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๓/๓๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

“เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๑- ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร๒- คือ สักกายะ ความดับแห่งสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความดับทุกข์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เมื่อนั้น แม้พวกเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ ฟังคำของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่ ต่างก็หวาดหวั่นถึงความสะดุ้ง ดุจเนื้อกลัวราชสีห์ด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่าพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ”
สีหสูตรที่ ๖ จบ
๗. ขัชชนียสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน
[๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เมื่อระลึกก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมดระลึกถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงรูปอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีรูปอย่างนี้’ เมื่อระลึก ก็ระลึกถึงเวทนาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีเวทนาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึง @เชิงอรรถ : @ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีคู่แข่ง คือไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญญาว่า ‘เราเป็นพระพุทธเจ้า @ได้เหมือนพระตถาคต’ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔) @ ธรรมจักร หมายถึงญาณ ๒ ประการ คือ (๑) ปฏิเวธญาณ คือญาณที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรง @แทงตลอดอริยสัจ ๔ (๒) เทสนาญาณ คือญาณที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงประกาศธรรมจักร @(สํ.ข.อ. ๒/๗๘/๓๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๘-๑๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=17&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=1920&Z=1954                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=155              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=155&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6850              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=155&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6850                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i149-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn22.78/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.78/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :