ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๗. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายีอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็นท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหา ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๗. อุทายิสูตร

“ท่านอานนท์ กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดย ประการต่างๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจบอก๑- แสดง๒- บัญญัติ๓- กำหนด๔- เปิดเผย๕- จำแนก๖- ทำให้ง่าย๗- ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้นหรือ” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอุทายี กายนี้พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการต่างๆ ว่า ‘กายนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันใด แม้ วิญญาณนี้ผมอาจบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฉันนั้น” “เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดหรือ” “อย่างนั้น ขอรับ” “เหตุและปัจจัยเพื่อให้จักขุวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง จักขุวิญญาณจะพึงปรากฏบ้างหรือ” “ไม่ปรากฏ ขอรับ” “จักขุวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ “เพราะอาศัยลิ้นและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดหรือ” “อย่างนั้น ขอรับ” @เชิงอรรถ : @ บอก หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ แสดง หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ บัญญัติ หมายถึงประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่างๆ ตามที่ยกแสดงไว้ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ กำหนด หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่างๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ เปิดเผย หมายถึงการชี้แจงแสดงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ จำแนก หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดเผยแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ ทำให้ง่าย หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๘. อาทิตตปริยายสูตร

“เหตุและปัจจัยเพื่อให้ชิวหาวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง ไม่เหลือ โดยประการทั้งปวง ชิวหาวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ” “ไม่ปรากฏ ขอรับ” “ชิวหาวิญญาณพระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ฯลฯ “เพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดหรือ” “อย่างนั้น ขอรับ” “เหตุและปัจจัยเพื่อให้มโนวิญญาณเกิดพึงดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่าง ไม่เหลือโดยประการทั้งปวง มโนวิญญาณพึงปรากฏบ้างหรือ” “ไม่ปรากฏ ขอรับ” “มโนวิญญาณ พระผู้มีพระภาคตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยประการ แม้นี้ว่า ‘วิญญาณนี้เป็นอนัตตาแม้เพราะเหตุนี้’ ผู้มีอายุ บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้ ถือ ขวานที่คมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ต้นใหม่ สูงมาก ในป่านั้น พึงตัด โคนแล้ว ตัดปลาย ปอกกาบออก ไม่พบแม้กระพี้ที่ต้นกล้วยนั้น ที่ไหนจักพบ แก่นเล่า แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ไม่พิจารณาเห็นอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ในผัสสายตนะ ๖ ประการ ท่านเมื่อไม่พิจารณาเห็นอย่างนี้ ย่อมไม่ยึดถือสิ่งใดๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดถือ ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับไปเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อุทายิสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=180              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=4630&Z=4668                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=300              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=300&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1271              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=300&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1271                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.193.than.html https://suttacentral.net/sn35.234/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.234/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :