ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๕. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑
[๒๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ สุขเวทนาเจืออามิส หมายถึงเวทนาอันประกอบด้วยอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ ทุกขเวทนาเจืออามิส หมายถึงทุกขเวทนาที่มีอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ อทุกขมสุขเวทนาเจืออามิส หมายถึงอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิสคือกาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ สุขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปฐมฌานเป็นต้น ด้วยสามารถแห่ง @วิปัสสนาและด้วยสามารถแห่งอนุสสติ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ ทุกขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงโทมนัสสเวทนาอันเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เข้าไปตั้งความปรารถนาไว้ @ในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) @ อทุกขมสุขเวทนาไม่เจืออามิส หมายถึงอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดขึ้นด้วยสามารถจตุตถฌาน @(สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖๒/๑๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๕. ปฐมอานันทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนามีเท่าไร ความเกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างไร อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจาก เวทนา” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เวทนามี ๓ ประการนี้ คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนา คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ แห่งเวทนา ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่อง สลัดออกจากเวทนา ต่อมาเรากล่าวความดับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ดับไป ฯลฯ ๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ดับไป ๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมดับไป โทสะย่อมดับไป โมหะย่อมดับไป ต่อมาเรากล่าวความระงับไปแห่งสังขารตามลำดับ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็ระงับไป ฯลฯ ๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็ระงับไป ๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมระงับไป โทสะย่อมระงับไป โมหะ ย่อมระงับไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๒. เวทนาสังยุต]

๒. รโหคตวรรค ๖. ทุติยอานันทสูตร

อานนท์ ต่อมา เรากล่าวความสงบแห่งสังขารตามลำดับ คือ ๑. เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาก็สงบ ฯลฯ ๕. เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาก็สงบ ๖. เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาก็สงบ ๗. เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาก็สงบ ๘. เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาก็สงบ ๙. เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาก็สงบ ๑๐. ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว ราคะย่อมสงบ โทสะย่อมสงบ โมหะย่อมสงบ”
ปฐมอานันทสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=209              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=5864&Z=5890                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=399              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=399&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=399&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i391-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn36/sn36.015.nypo.html https://suttacentral.net/sn36.15/en/sujato https://suttacentral.net/sn36.15/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :