ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๔. ปฐมอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๑
[๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละชิวหา เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคล เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑- กำหนดรู้๒- คลายกำหนัด๓- ละสิ่งทั้งปวง ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ คือ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุวิญญาณได้ เป็นผู้ควร เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุสัมผัสได้ เป็น ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เมื่อรู้ยิ่ง ในที่นี้หมายถึงญาตปริญญา (กำหนดรู้ขั้นรู้จัก) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖/๗) @ กำหนดรู้ ในที่นี้หมายถึงตีรณปริญญา (กำหนดรู้ขั้นพิจารณา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖/๗) @ คลายกำหนัด ในที่นี้หมายถึงปหานปริญญา (กำหนดรู้ขั้นละ) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๖/๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๕. ทุติยอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละชิวหาได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น ทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
ปฐมอปริชานนสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔-๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=331&Z=360                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=27              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=27&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=127              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=27&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=127                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i024-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn35.26/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.26/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :