ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๑
[๓๔๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด” ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ ประทักษิณแล้วจากไป ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร

ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุต่างๆ ธาตุต่างๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่างๆ” เมื่อ จิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ ต่างๆ ธาตุต่างๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่างๆ” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ ต่างๆ ธาตุต่างๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่างๆ” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่ สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ จิตตคหบดีเอง ขอรับ” พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด” ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุต่างๆ ธาตุต่างๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุ ต่างๆ’ หรือ” “อย่างนั้น ขอรับ” “คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสธาตุต่างๆ ไว้ดังนี้ว่า ‘จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ วิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่างๆ” ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะ ได้นำของขบฉันอัน ประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็น เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”
ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=258              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=7236&Z=7279                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=541              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=541&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3335              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=541&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3335                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn41.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :