ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๘. สังขธมสูตร
ว่าด้วยคนเป่าสังข์
[๓๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๘. สังขธมสูตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผู้ใหญ่บ้าน ชื่ออสิพันธกบุตรดังนี้ว่า “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก อย่างไร” ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก กรรมใดๆ มีอยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรย่อมแสดงธรรมแก่พวก สาวกอย่างนี้” “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใดๆ มี อยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ไปอบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์หรือเวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ เวลาไหนจะมาก กว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ฆ่าสัตว์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน หรือกลางวัน เวลาที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์มากกว่า” “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใดๆ มี อยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ไปอบาย ตก นรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์หรือเวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์ เวลาไหนจะ มากกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ลักทรัพย์อาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน หรือกลางวัน เวลาที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ลักทรัพย์มากกว่า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๘. สังขธมสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใดๆ มี อยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ไปอบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและ มิใช่เวลาของกลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามหรือเวลาที่เขาไม่ ประพฤติผิดในกาม เวลาไหนจะมากกว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้ประพฤติผิดในกามอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาประพฤติผิดในกามน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่ ประพฤติผิดในกามมากกว่า” “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใดๆ มี อยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ไปอบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของ กลางคืนหรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จหรือเวลาที่เขาไม่พูดเท็จ เวลาไหนจะมาก กว่ากัน” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้พูดเท็จอาศัยเวลาและมิใช่เวลาของกลางคืน หรือกลางวัน เวลาที่เขาพูดเท็จน้อยกว่า ที่แท้เวลาที่เขาไม่พูดเท็จมากกว่า” “ผู้ใหญ่บ้าน นิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกว่า ‘กรรมใดๆ มี อยู่มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลไป’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จักไม่มีใครๆ ไปอบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ศาสดาบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้อง ไปอบาย ตกนรก ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้ประพฤติผิดในกาม ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดาองค์นั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามี วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๘. สังขธมสูตร

ศาสดานั้นกลับได้ทิฏฐิว่า ‘สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขาไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้ ทิฏฐิว่า ‘ทรัพย์ที่เราเคยลักก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดา นั้น กลับได้ทิฏฐิว่า ‘การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือน ถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น สาวกของศาสดานั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาของเรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดต้องไปอบาย ตกนรก’ สาวกของศาสดานั้นกลับได้ ทิฏฐิว่า ‘คำเท็จที่เราพูดแล้วก็มีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ตกนรก’ เขายังไม่ละคำพูด ไม่ละความคิด ไม่สละทิฏฐินั้น ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบ พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตนั้น ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่างๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ ตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดยประการ ต่างๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’ ตำหนิ ติเตียนการประพฤติผิดในกามโดยประการต่างๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่าน ทั้งหลายจงงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม’ ตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดยประการ ต่างๆ เป็นอันมาก และกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการพูดเท็จ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๘. สังขธมสูตร

สาวกผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในศาสดานั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรง ตำหนิติเตียนการฆ่าสัตว์โดยประการต่างๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์’ อนึ่ง สัตว์ที่ถูกเราฆ่าก็มีอยู่มากมาย การที่เราฆ่าสัตว์ มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการฆ่าสัตว์นั้น เป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละ การฆ่าสัตว์นั้นและเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ต่อไป เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้ สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการลักทรัพย์โดย ประการต่างๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจากการลักทรัพย์’ ทรัพย์ที่เราลักก็มีอยู่มากมาย การที่เราลักทรัพย์มากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการลักทรัพย์นั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำ บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการลักทรัพย์นั้นและ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ต่อไป เธอละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้ สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการประพฤติผิด ในกามโดยประการต่างๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงงดเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม’ การที่เราประพฤติผิดในกามก็มีอยู่มากมาย การที่เรา ประพฤติผิดในกามมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อน เพราะการประพฤติผิดในกามนั้นเป็นปัจจัย เราไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอ พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วย่อมละการประพฤติผิดในกามนั้นและเว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกามต่อไป เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้ สาวกนั้นพิจารณาเห็นว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนการพูดเท็จโดย ประการต่างๆ เป็นอันมาก และตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเว้นขาดจากการพูดเท็จ’ การที่เราพูดเท็จก็มีอยู่มากมาย การที่เราพูดเท็จมากมายนั้นไม่เป็นการดีงามเลย เราเท่านั้นพึงเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการพูดเท็จนั้นเป็นปัจจัย เราจักไม่ได้ทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๘. สังขธมสูตร

บาปกรรมนั้นก็หามิได้ เธอพิจารณาอย่างนี้แล้วย่อมละการพูดเท็จนั้นและเว้นขาด จากการพูดเท็จต่อไป เขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมนั้นได้ด้วยประการฉะนี้ สาวกนั้นละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด จากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด คำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของ เขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิ อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจากพยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตา- เจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรเลย เปรียบเหมือนคน เป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ได้ยินตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๙. กุลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่ออสิพันธกบุตร สาวกของ นิครนถ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สังขธมสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๐๖-๔๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=274              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=8038&Z=8172                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=608              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=608&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3646              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=608&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3646                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn42/sn42.008.than.html https://suttacentral.net/sn42.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :