ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๓. ปาฏลิยสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะ
[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกฬิยะชื่ออุตตระ ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะพวกข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้ใหญ่บ้าน สมณพราหมณ์ที่กล่าวว่า ‘พระ สมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย คำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวที่ได้ยินมาจริงทีเดียว ข้าพระองค์ไม่เชื่อสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นว่า ‘พระสมณโคดมทรงรู้จักมารยา’ แต่ได้ยินว่า ‘พระสมณโคดม ทรงมีมารยา” “ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดกล่าวว่า ‘เรารู้จักมารยา’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า ‘เรามี มารยา” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นทีเดียว ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้น เป็นอย่างนั้นทีเดียว” “ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ท่านพึงตอบตามสมควร ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะหรือ” “ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะมีไว้เพื่อประโยชน์ คือ เพื่อป้องกันพวกโจรชาวโกฬิยะและเพื่อการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวโกฬิยะ” “ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านรู้จักพวกทหารผมยาวใน นิคมของชาวโกฬิยะว่ามีศีลหรือทุศีล” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้จักพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่า ทุศีล มีธรรมเลวทราม และพวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่งในบรรดาผู้ทุศีล มีธรรมเลวทรามในโลก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวกทหารผมยาว ชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะก็ทุศีล มีธรรมเลว ทราม’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่ากล่าวถูกหรือ” “กล่าวไม่ถูก พระพุทธเจ้าข้า พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง พวกทหารผมยาวชาวโกฬิยะ มีธรรมอย่างหนึ่ง ข้า พระองค์ก็มีธรรมอีกอย่างหนึ่ง” “ผู้ใหญ่บ้าน ที่จริงท่านเองจักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะรู้จักพวก ทหารผมยาวชาวโกฬิยะว่าทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะไม่ใช่ผู้ ทุศีล มีธรรมเลวทราม’ เพราะฉะนั้นตถาคตก็จักกล่าวไม่ได้ว่า ‘ตถาคตรู้จักมารยา แต่ตถาคตไม่ใช่ผู้มีมารยา’ เรารู้ชัดมารยา ผลของมารยา และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีมารยา หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการฆ่าสัตว์ ผลของการฆ่าสัตว์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ฆ่า สัตว์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการลักทรัพย์ ผลของการลักทรัพย์ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล ผู้ลักทรัพย์หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการประพฤติผิดในกาม ผลของการประพฤติผิดในกาม และข้อ ปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ประพฤติผิดในกามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการพูดเท็จ ผลของการพูดเท็จ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้ พูดเท็จหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการพูดคำส่อเสียด ผลของการพูดคำส่อเสียด และข้อปฏิบัติที่เป็น เหตุให้บุคคลผู้พูดคำส่อเสียดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดการพูดคำหยาบ ผลของการพูดคำหยาบ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้ บุคคลผู้พูดคำหยาบหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

เรารู้ชัดการพูดเพ้อเจ้อ ผลของการพูดเพ้อเจ้อ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคล ผู้พูดเพ้อเจ้อหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ผลของความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท ผลของความประทุษร้ายที่เกิด จากพยาบาท และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีจิตพยาบาทหลังจากตายแล้วจะ ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ ผลของมิจฉาทิฏฐิ และข้อปฏิบัติที่เป็นเหตุให้บุคคลผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก สมณพราหมณ์ผู้พูดเท็จ ผู้ใหญ่บ้าน มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์ โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ผู้ พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คน ทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง พระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ข่มข้าศึกของพระราชาแล้ว ปลิดชีพมันเสีย พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้น บุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว แล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึง ผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือก ที่เหนียวแล้ว โกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียง ดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้เป็นศัตรูของพระราชา ได้ ปลิดชีพสตรีหรือบุรุษ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษ เช่นนี้’ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ยิน มาบ้างไหม” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ฆ่าสัตว์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ พูดเท็จ” “พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล” “ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิด หรือปฏิบัติถูก” “ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือเป็นสัมมาทิฏฐิ” “เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า” “ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น” “ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

“ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ข่มขู่ยึดเอา รัตนะของข้าศึกของพระราชามาได้ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทานรางวัล แก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกาม กับสตรี อย่างพระราชา’ แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้ลัก ทรัพย์จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง เพราะเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขา แล้วลงโทษเช่นนี้’ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ ยินมาบ้างไหม” “ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ลักทรัพย์ทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ พูดเท็จ” ฯลฯ “ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น” “ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๒) “ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ประพฤติผิดใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงพอพระทัย ได้พระราชทานรางวัลแก่ เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู ฯลฯ บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’ ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว ฯลฯ แล้วตัด ศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ ประพฤติผิดในเหล่ากุลสตรี ในเหล่ากุลกุมารี ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึง รับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ ยินมาบ้างไหม” “ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือพูดเท็จ” ฯลฯ “ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น” “ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” (๓) “ผู้ใหญ่บ้าน แต่ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้คล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่าง พระราชา คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไร จึงคล้องพวง มาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วย กามกับสตรี อย่างพระราชา’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นอีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำ ให้พระราชาทรงพระสรวลด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรงพอพระทัยได้พระราชทาน รางวัลแก่เขา ด้วยเหตุนั้นบุรุษนี้จึงคล้องพวงมาลัย ใส่ตุ้มหู อาบน้ำอย่างดี ลูบ ไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนด้วยกามกับสตรี อย่างพระราชา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปรากฏว่า คนบางคนในโลกนี้ถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้นว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ได้ทำอะไรจึงถูกมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงด้วยเชือกที่เหนียว โกนศีรษะแล้ว แห่ประจานไปตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงดังสนั่น ออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะด้านทิศใต้ของเมือง’ คนทั้งหลายพูดถึงผู้นั้น อีกว่า ‘ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้ทำลายประโยชน์ของคหบดีบ้าง ของบุตรคหบดีบ้าง ด้วยการพูดเท็จ ด้วยเหตุนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วลงโทษเช่นนี้’ ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เรื่องเช่นนี้ท่านได้เห็นหรือได้ ยินมาบ้างไหม” “ข้าพระองค์ได้เห็น ได้ยิน ทั้งจักได้ยินต่อไป พระพุทธเจ้าข้า” “ผู้ใหญ่บ้าน บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้พูดเท็จทั้งหมดย่อมเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน’ พูดจริงหรือ พูดเท็จ” “พูดเท็จ พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่พูดปดมดเท็จ มีศีลหรือทุศีล” “ทุศีล พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติถูก” “ปฏิบัติผิด พระพุทธเจ้าข้า” “สมณพราหมณ์พวกที่ปฏิบัติผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นสัมมาทิฏฐิ” “เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระพุทธเจ้าข้า” “ควรหรือที่จะเลื่อมใสในสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น” “ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ทิฏฐิของศาสดาต่างๆ
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์มีบ้านพัก อยู่หลังหนึ่ง ในบ้านพักนั้นมีเตียง มีที่นั่ง มีโอ่งน้ำ มีตะเกียงน้ำมัน ผู้ใดไม่ว่าจะ เป็นสมณะหรือพราหมณ์เข้าพักในบ้านพักนั้น ข้าพระองค์จะแจกแก่ผู้นั้นตามความ สามารถ ตามกำลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาทั้ง ๔ ซึ่งมี ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน เข้าพักในบ้านพักนั้น ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่ บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่ บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก’ ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่น ทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้ อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้าน หลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตาก เนื้อให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมา ถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จาก การฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านี้ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ” “ผู้ใหญ่บ้าน สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย และความสงสัยก็เกิดขึ้นแก่ ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระองค์ สามารถแสดงธรรมให้ข้าพระองค์ละความเคลือบแคลงนี้ได้”
ธรรมสมาธิทำให้หายสงสัย
“ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิ๑- มีอยู่ ถ้าท่าน (ตั้งอยู่) ในธรรมสมาธินั้น พึง ได้จิตตสมาธิ๒- เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ @เชิงอรรถ : @ ธรรมสมาธิ หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ธรรม ๕ ประการ (คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข @และสมาธิ) หรือพรหมวิหาร ๔ (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๖๕/๑๗๑-๑๗๒) @ จิตตสมาธิ หมายถึงมรรค ๔ และวิปัสสนา หรือจิตเตกัคคตา (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๖๕/๑๗๑-๑๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ธรรมสมาธิ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ละการลัก ทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ละการพูดคำส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำส่อเสียด ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ละความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ละความประทุษร้ายที่เกิดจากพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่ มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรม ที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี บาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่ มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็น มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่ง กรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลัง จากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด โลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี บาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้ ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด โลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี บาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน เพราะเราไม่เบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้ จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ ผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน ตลอดชีวิต”
ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
๑. จัณฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร ๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร ๕. อัสสาโรหสูตร ๖. อสิพันธกปุตตสูตร ๗. เขตตูปมสูตร ๘. สังขธมสูตร ๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬกสูตร ๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร ๑๓. ปาฏลิยสูตร
คามณิสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๔๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๓๐-๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=279              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=8581&Z=9025                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=649              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=649&items=25              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3743              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=649&items=25              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3743                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta13 https://suttacentral.net/sn42.13/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :