ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๕. เสยโยหมัสมิสูตร
ว่าด้วยความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา
[๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะยึดมั่นอะไร เพราะถือมั่นอะไร ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค เป็นหลัก” “เมื่อมีจักขุ เพราะยึดมั่นจักขุ เพราะถือมั่นจักขุ ความถือตัวว่า ‘เราเลิศ กว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี ฯลฯ เมื่อมีชิวหา ฯลฯ เมื่อมีมโน เพราะยึดมั่นมโน เพราะถือมั่นมโน ความ ถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ” “ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ “ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ “มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ” “ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เสยโยหมัสมิสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=18&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2262&Z=2293                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=158              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=158&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=158&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i152-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn35.108/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.108/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :