ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี
[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร

เพราะเมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ไม่คุ้นเคยกับพระธรรม ไม่คุ้นเคยกับพระสงฆ์ ข้าพระองค์นั้นเมื่อมีความรัก ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มี พระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น ดังนี้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาความเกิดและความ เสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข- สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อ ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม๑- ที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว และมรรค๒- ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระ องค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็น อย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้ อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาธรรม (สํ.ม.อ. ๓/๒๑๑/๒๑๗) @ มรรค ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนามรรค (สํ.ม.อ. ๓/๒๑๑/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๓. อุทายิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้ว ที่เธอเจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำเธอผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
อุทายิวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โพธายสูตร ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร ๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสมนสิการสูตร ๕. อปริหานิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร ๗. ตัณหานิโรธสูตร ๘. นิพเพธภาคิยสูตร ๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๔๒-๑๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=19&siri=103              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=2749&Z=2791                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=458              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=458&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=4725              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=458&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=4725                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn46.30/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.30/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :