ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๔. เมตตาสหคตสูตร
ว่าด้วยจิตมีเมตตา
[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ หลิททวสนะ แคว้นโกลิยะ ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การ เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑- ทิศเบื้องล่าง๒- ทิศเฉียง๓- แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... @เชิงอรรถ : @ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ เบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาคภพ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอบๆ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียนอยู่ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ ทุกสถานด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน ที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียนอยู่’ แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของ พระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร” ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค” ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่ เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลาย จักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
เมตตาเจโตวิมุตติมีอะไรเป็นคติ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นที่สุด อนึ่ง กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไร เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญ แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจัก ไม่สามารถตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดีได้ ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน ของตถาคตนี้ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่ หรือเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งสำหรับ ภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้ กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่ หรือบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติว่ามีอากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้ มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้ อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่ หรือบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่ามีอากิญจัญญายตนฌานเป็น อย่างยิ่งสำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรม- วินัยนี้”
เมตตาสหคตสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๗๔-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=19&siri=126              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3328&Z=3470                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=573              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=573&items=28              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=5239              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=573&items=28              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=5239                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn46/sn46.054.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn46/sn46.054x.wlsh.html https://suttacentral.net/sn46.54/en/sujato https://suttacentral.net/sn46.54/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :