ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. มุสาวาทสูตร

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๒
๑. ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๑๑๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่า สัตว์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯลฯ
ปาณาติปาตสูตรที่ ๑ จบ
๒. อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการลักทรัพย์
[๑๑๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการลักทรัพย์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
อทินนาทานสูตรที่ ๒ จบ
๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
[๑๑๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
กาเมสุมิจฉาจารสูตรที่ ๓ จบ
๔. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพูดเท็จ
[๑๑๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ พูดเท็จมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพูดเท็จมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
มุสาวาทสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๘. พีชคามสูตร

๕. เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำส่อเสียด
[๑๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก คำส่อเสียดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำส่อเสียดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
เปสุญญสูตรที่ ๕ จบ
๖. ผรุสวาจาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ
[๑๑๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำหยาบมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ผรุสวาจาสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ
[๑๑๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก คำเพ้อเจ้อมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
สัมผัปปลาปสูตรที่ ๗ จบ
๘. พีชคามสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
[๑๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ พรากพืชคามและภูตคามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคามมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
พีชคามสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
[๑๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ บริโภคอาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
วิกาลโภชนสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากของหอมและเครื่องลูบไล้
[๑๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ ทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็น ลักษณะแห่งการแต่งตัวมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่ง การแต่งตัว มีจำนวนมากกว่า”
คันธวิเลปนสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร ๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร ๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสวาจาสูตร ๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชคามสูตร ๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๔๔-๖๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=19&siri=442              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=10981&Z=11042                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1766              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1766&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8433              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1766&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8433                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.71/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.72/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.73/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.74/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.75/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.76/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.77/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.78/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.79/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.80/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :