ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๔. เอตทัคควรรค
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๑๙๘] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สามารถเนรมิตกายมโนมัย๓- (๑) @เชิงอรรถ : @ บันลือสีหนาท ในที่นี้หมายถึงอาการที่เปล่งวาจาอย่างองอาจดุจพญาราชสีห์ในขณะที่เดินรอบๆ วิหาร @มีใจความว่า “ผู้มีความสงสัยในมรรคและผล จงถามข้าพเจ้า” หรือแม้จะยืนตรงพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า @ก็เปล่งวาจาว่า “กิจที่จะพึงทำในพระศาสนานี้ของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๕/๑๗๗) @ บางแห่งใช้ กัจจายนะ @ เนรมิตกายมโนมัย หมายถึงเนรมิตกายที่เกิดขึ้นด้วยใจ เช่น ตามปกติภิกษุอื่นหลายรูปเนรมิตให้กายเกิด @ขึ้นมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน ทำงานอย่างเดียวกันได้เพียง ๓ หรือ ๔ รูป ไม่มาก ส่วนท่านพระจูฬปันถก @เนรมิตกายให้เป็นสมณะตั้ง ๑,๐๐๐ รูป โดยการนึกเพียงครั้งเดียว ทั้งยังสามารถทำให้กายที่เนรมิตนั้นมี @รูปร่างต่างกัน ทำการงานต่างกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเลิศกว่าภิกษุผู้เนรมิตกายมโนมัยทั้งหลาย @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๘/๑๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๔. เอตทัคควรรค ๒. ทุติยวรรค

[๑๙๙] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ๑- (๒) [๒๐๐] มหาปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในสัญญาวิวัฏ๒- (๓) [๒๐๑] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส (๔) [๒๐๒] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล (๕) [๒๐๓] เรวตขทิรวนิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (๖) [๒๐๔] กังขาเรวตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๗) [๒๐๕] โสณโกฬิวิสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความเพียร๓- (๘) [๒๐๖] โสณกุฏิกัณณะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำไพเราะ๔- (๙) [๒๐๗] สีวลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีลาภ (๑๐) [๒๐๘] วักกลิเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๑)
ทุติยวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ ฉลาดในเจโตวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนใจ คือได้รูปาวจรฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน @ตติยฌาน และจตุตถฌาน) เพราะความฉลาดในสมาบัติ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๙/๑๘๙) @ ฉลาดในสัญญาวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนสัญญา คือได้อรูปาวจรฌาน ๔ (อากาสานัญจา- @ยตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๐๐/๑๘๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๘ หน้า ๔ ในเล่มนี้ @ กล่าวถ้อยคำไพเราะ ในที่นี้หมายถึงแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๐๖/๒๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖-๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=644&Z=659                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=147              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=147&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=4479              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=147&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=4479                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i146-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an1.198-208//en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :