ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

๑๐. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม สูตรที่ ๒
[๑๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ฉันทะ๑- เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ๒. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ๓. ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรอง พิจารณาด้วยใจ ย่อม เกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความกำหนัดแห่ง ใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะใน อดีต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ ในอนาคต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ เมื่อเขาอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ตรึกตรอง พิจารณา ด้วยใจ ย่อมเกิดฉันทะ เขาผู้เกิดฉันทะ ย่อมถูกธรรมเหล่านั้นร้อยรัด เราเรียกความ @เชิงอรรถ : @ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๑๓/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สัมโพธวรรค ๑๐. ทุติยนิทานสูตร

กำหนัดแห่งใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ฉันทะเกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะ ในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ๒. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ๓. ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล ฉันทะไม่เกิดเพราะอาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดผลที่จะเกิดต่อไปแห่งธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ครั้นรู้แล้วจึงละเว้นผลนั้นเสียแล้วรู้แจ้งด้วยใจ เห็นชัดด้วยปัญญา ฉันทะไม่เกิดเพราะ อาศัยธรรมอันเป็นเหตุแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ดี) ๓ ประการนี้แล
ทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
สัมโพธวรรคที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๑. อาปายิกสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุพเพวสัมโพธสูตร ๒. ปฐมอัสสาทสูตร ๓. ทุติยอัสสาทสูตร ๔. สมณพราหมณสูตร ๕. รุณณสูตร ๖. อติตติสูตร ๗. อรักขิตสูตร ๘. พยาปันนสูตร ๙. ปฐมนิทานสูตร ๑๐. ทุติยนิทานสูตร


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=157              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=6927&Z=6978                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=552              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=552&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6027              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=552&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6027                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i543-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an3.112/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :