ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๙. อันธสูตร
ว่าด้วยบุคคลตาบอด
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลตาบอด ๒. บุคคลตาเดียว ๓. บุคคลสองตา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๙. อันธสูตร

บุคคลตาบอด เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีนัยน์ตา๑- เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาบอด บุคคลตาเดียว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่เขาไม่มีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว บุคคลสองตา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีนัยน์ตาเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน และเขามีนัยน์ตาเป็นเครื่องรู้ธรรมที่เป็นกุศลและ อกุศล รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมที่มีส่วนเปรียบ ด้วยธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก โภคทรัพย์อย่างนั้นไม่มีแก่บุคคลตาบอด และบุคคลตาบอดย่อมไม่ทำบุญ โทษเคราะห์ย่อมมีแก่บุคคลตาบอด ผู้มีนัยน์ตาเสียในโลกทั้งสอง ในกาลต่อมา เราได้กล่าวถึงบุคคลตาเดียวนี้ไว้ ก็บุคคลตาเดียวหมกมุ่นกับธรรมและอธรรม แสวงหาโภคทรัพย์ด้วยการคดโกงและการพูดเท็จ อันเป็นการลักขโมยทั้งสองอย่าง @เชิงอรรถ : @ นัยน์ตา ในที่นี้หมายถึงปัญญาจักษุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๙/๑๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์ เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน ส่วนบุคคลสองตา เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด
อันธสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=73              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3373&Z=3405                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=468              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=468&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2410              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=468&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2410                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i460-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/an3.29/en/sujato https://suttacentral.net/an3.29/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :