ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๓. ปฐมขตสูตร

๓. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น อสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑- สิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน ๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน ๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก @เชิงอรรถ : @ ประสพ (ปสวติ) (ส. = ปฺรสว, ป. = ปสว) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๖/๑๕๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๔. ทุติยขตสูตร

ผู้ใดกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน หรือกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสพความสุขเพราะความผิดนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน จนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้ายในบุคคล ที่ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑- กับอีก ๕ อัพพุทกัป
ปฐมขตสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๒
[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น อสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในมารดา ย่อม บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ๒. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบิดา ฯลฯ ๓. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในตถาคต ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ นิรัพพุกัป เป็นจำนวนกัปที่ใช้สังขยา (การกำหนดนับ) จำนวนสูง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖) พจนานุกรม @ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๔-๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=3              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=42&Z=73                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=3              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=3&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6479              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=3&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6479                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i001-e2.php#sutta3 https://suttacentral.net/an4.3/en/sujato https://suttacentral.net/an4.3/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :