ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. โรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร
[๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น โรหิตัสสเทพบุตรเมื่อราตรี๑- ผ่านไป มีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือ ทรงถึงที่สุดแห่งโลก๒- ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป” @เชิงอรรถ : @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๘/๒๖๗) @ โลก ในที่นี้เทพบุตรหมายถึงโอกาสโลก คือ โลกจักรวาล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. โรหิตัสสวรรค ๕. โรหิตัสสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป” โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลก ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤๅษีชื่อโรหิตัสสะ เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้าน มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ นายขมังธนู ผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศร เบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยากฉะนั้น การย่างเท้าแต่ละก้าวของ ข้าพระองค์เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออกถึงทะเลด้านตะวันตกฉะนั้น ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้น ผู้เพียบพร้อมด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ นั้นแลเว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป เราไม่กล่าวว่า การที่บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อนึ่ง เราบัญญัติโลก๑- ความเกิดแห่งโลก๒- ความดับแห่งโลก๓- และข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งโลก๔- ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง” @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้หมายถึงทุกขสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕) @ ความเกิดแห่งโลก หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕) @ ความดับแห่งโลก หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕) @ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก หมายถึงมัคคสัจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๕/๓๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. โรหิตัสสวรรค ๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร

ไม่ว่าในเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์ เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์ สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า
โรหิตัสสสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๗๓-๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1282&Z=1326                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=45              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=45&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7964              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=45&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7964                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e2.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.045.than.html https://suttacentral.net/an4.45/en/sujato https://suttacentral.net/an4.45/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :