ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. รูปสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ
[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๑-๑๗๒/๒๐๔-๒๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ปัตตกัมมวรรค ๕. รูปสูตร

๑. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป ๒. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง ๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ๑- เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๔. บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ชนเหล่าใดถือประมาณในรูป และชนเหล่าใดคล้อยไปตามเสียง ชนเหล่านั้นชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ๒- ย่อมไม่รู้จักบุคคลนั้น คือ บุคคลนั้นแลเป็นคนเขลา ไม่รู้คุณภายในของเขา และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ ย่อมถูกเสียงชักนำไป อนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้คุณภายใน๓- แต่เห็นข้อปฏิบัติภายนอก๔- มองแต่ผลในภายนอก๕- ย่อมถูกเสียงชักนำไป ส่วนบุคคลที่รู้คุณภายใน และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอก เห็นธรรมปราศจากเครื่องกั้น ย่อมไม่ถูกเสียงชักนำไป
รูปสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงความเศร้าหมองแห่งจีวร คือ จีวรที่หยาบ จีวรเก่า และจีวรปะเย็บหลายครั้ง และความเศร้าหมอง @แห่งบาตร คือ บาตรที่มีรอยปุ่มหลายแห่ง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๕/๓๕๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๖๕/๓๘๘) @ หมายถึงตกอยู่ในอำนาจของความพอใจและความกำหนัดยินดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๕/๓๕๕) @ หมายถึงไม่รู้คุณมีศีลเป็นต้นที่อยู่ในภายในของบุคคลนั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๕/๓๕๕) @ หมายถึงเห็นเฉพาะข้อปฏิบัติภายนอกของบุคคลนั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๕/๓๕๕) @ หมายถึงเห็นเฉพาะผลคือสักการะภายนอกที่คนเหล่าอื่นกระทำแก่บุคคลนั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๕/๓๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๐๘-๑๐๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1908&Z=1924                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=65              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=65&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8204              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=65&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8204                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e2.php#sutta5 https://suttacentral.net/an4.65/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :