ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๖. โอณโตณตสูตร
ว่าด้วยผู้ต่ำมาและต่ำไป
[๘๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป ๒. บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป ๓. บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป ๔. บุคคลผู้สูงมาและสูงไป บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒- และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วย่อมเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ฯลฯ๒- แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน สุคติโลก สวรรค์ บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๒- แต่เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๙/๒๐๒-๒๐๓ @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๕ (ตโมตมสูตร) หน้า ๑๒๙-๑๓๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. มจลวรรค ๗. ปุตตสูตร

บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ฯลฯ๑- และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อณโตณตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปุตตสูตร
ว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว๒- ๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก๓- (บัวขาว) ๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม๔- (บัวหลวง) ๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ดำเนินตามข้อปฏิบัติ ปรารถนาผลที่ยอด เยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอยู่เหมือนพระราชโอรสองค์พี่ของพระราชามหา- กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว แม้ยังไม่ได้รับการอภิเษกก็ไม่ทรงหวั่นไหว บุคคล เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๘๕ (ตโมตมสูตร) หน้า ๑๓๐-๑๓๑ ในเล่มนี้ @ สมณะผู้ไม่หวั่นไหว ในที่นี้หมายถึงพระเสขบุคคล ๗ ที่ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะมีศรัทธาตั้งมั่นในพระ @ศาสนา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔) @ สมณะเหมือนดอกปุณฑริก ในที่นี้หมายถึงพระสุกขวิปัสสกขีณาสพ ที่มีคุณยังไม่บริบูรณ์ เพราะไม่มี @ฌาน และอภิญญา เปรียบเหมือนดอกปุณฑริกที่งอกขึ้นในสระจะมีกลีบเพียง ๙๙ กลีบ ไม่ครบร้อย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔) @ สมณะเหมือนดอกปทุม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต ที่มีคุณบริบูรณ์ เพราะมีฌานและ @อภิญญาเหมือนดอกปทุมที่งอกขึ้นในสระ มีกลีบครบร้อย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=86              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=2337&Z=2362                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=86              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=86&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8405              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=86&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8405                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e.php#sutta6 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e2.php#sutta6 https://suttacentral.net/an4.86/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :