ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยผู้สิ้นสังโยชน์
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๙๐/๒๑๗-๒๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๔. มจลวรรค ๘. สังโยชนสูตร

๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว ๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก ๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม ๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๑- ในวันข้างหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้ ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก บุคคลเป็นสมณะ เหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียด อ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สังโยชนสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๖ (กุสินารสูตร) หน้า ๑๒๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓๔-๑๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=2421&Z=2441                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=88              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=88&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8442              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=88&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8442                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e.php#sutta8 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i081-e2.php#sutta8 https://suttacentral.net/an4.88/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :