ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร

๔. ราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระราชา
๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร
ว่าด้วยการให้จักรหมุนไป สูตรที่ ๑
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ จึงทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม๑- เท่านั้น จักรนั้นอันใครๆ ที่เป็น มนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้ องค์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ ๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๒- ๒. เป็นผู้รู้ธรรม๓- ๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๔- ๔. เป็นผู้รู้กาล๕- ๕. เป็นผู้รู้บริษัท๖- @เชิงอรรถ : @ ทรงให้จักรหมุนไปโดยธรรม หมายถึงอาณาจักรที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงปกครองด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ @ประการ อันใครๆ จะให้หมุนกลับเป็นอื่นไปไม่ได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔/๘๘, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐) @ เป็นผู้รู้ประโยชน์ หมายถึงทรงครองราชย์ด้วยการทรงบำเพ็ญประโยชน์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐, @องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓) @ เป็นผู้รู้ธรรม หมายถึงทรงรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐) @ เป็นผู้รู้ประมาณ หมายถึงทรงรู้จักประมาณในการลงอาชญาตามสมควรแก่ความผิด หรือในการทำพลีกรรม @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓) @ เป็นผู้รู้กาล หมายถึงทรงรู้กาลที่จะเสวยความสุขในราชสมบัติ กาลเป็นที่วินิจฉัย และกาลที่เสด็จไปยัง @ชนบท (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐) @ เป็นผู้รู้บริษัท คือทรงรู้ว่า “นี้คือขัตติยบริษัท นี้คือพราหมณบริษัท นี้คือเวสสบริษัท นี้คือศุทรบริษัท @และนี้คือสมณบริษัท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ราชวรรค ๑. ปฐมจักกานุวัตตนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้ จักรหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอันใครๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึก และเป็นสัตว์ มีชีวิตให้หมุนกลับไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรม เท่านั้น จักรนั้นอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้หมุน กลับไม่ได้ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกนี้ ๑. เป็นผู้รู้ประโยชน์๑- ๒. เป็นผู้รู้ธรรม๒- ๓. เป็นผู้รู้ประมาณ๓- ๔. เป็นผู้รู้กาล๔- ๕. เป็นผู้รู้บริษัท ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล จึงทรงให้ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมหมุนไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้นอัน สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้
ปฐมจักกานุวัตตนสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ เป็นผู้รู้ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประโยชน์ ๕ ประการ คือ (๑) ประโยชน์ตน (๒) ประโยชน์ผู้อื่น @(๓) ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น (๔) ประโยชน์ในภพนี้ (๕) ประโยชน์ในภพหน้า @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓) @ เป็นผู้รู้ธรรม ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ธรรม คือ อริยสัจ ๔ หรือธรรม ๔ ประการ คือ กามาวจรธรรม @รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม และโลกุตตรธรรม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓) @ เป็นผู้รู้ประมาณ ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ประมาณในการรับปัจจัย ๔ การบริโภคปัจจัย ๔ การแสวงหาปัจจัย ๔ @และการสละปัจจัย ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๓๑/๕๓) @ รู้กาล หมายถึงทรงรู้ว่า “นี้เป็นเวลาหลีกเร้น นี้เป็นเวลาเข้าสมาบัติ นี้เป็นเวลาแสดงธรรม และนี้เป็น @เวลาเที่ยวจาริกในชนบท” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๓๑/๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=131              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=3463&Z=3482                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=131              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=131&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1127              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=131&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1127                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i131-e.php# https://suttacentral.net/an5.131/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :